บทที่ 8 การจากไปด้วยรองเท้าข้างเดียว
หลังจากที่ท่านโพธิธรรมได้
ทิ้งสังขารแล้ว ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดไปทั่วแผ่นดินจีน
ว่าท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตเพราะถูกลอบวางยาพิษ
ข่าวนี้ได้ดังไปถึงเมืองหลวง พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ซึ่งต่อมาภายหลัง
ได้เกิดความศรัทธาอย่างมากต่อท่านโพธิธรรม
จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์จารึกไว้ที่เจดีย์บรรจุศพ ณ เชิงเขาอู่ซัน
เมืองอี๋หยาง มณฑลเหอหนาน และต่อมาภายหลังองค์จักรพรรดิถังไถ่จง
ได้พระราชทานนามในสมณศักดิ์ให้แก่ท่านโพธิธรรม ณ หลุมฝังศพนั้นว่า
"พระฌานาจารย์สัมมาสัมโพธิญาณ"
หลังจากที่ศพฝังไว้ในสุสานเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นมาอีกหนึ่งเดือน มีเรื่องเล่ากันว่า
มีขุนนางผู้หนึ่งได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ขุนนางผู้นี้มีนามว่า "ช่งหวิน"
เขาได้พบกับท่านโพธิธรรมพร้อมหมู่คณะภิกษุที่นั่น
แต่ช่งหวินมาราชการเป็นเวลานานแล้ว
และไม่รู้เลยว่าท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไปแล้ว
ช่งหวินได้พบท่านโพธิธรรมเดินธุดงค์ผ่านมา
ด้วยไม้เท้าที่แขวนด้วยรองเท้าข้างเดียวของท่าน
ท่านช่งหวินคนนี้เป็นข้าราชการที่มีความสนิทสนม
รู้จักท่านโพธิธรรมเป็นอย่างดี จึงร้องถามขึ้นว่า "ท่านพระอาจารย์จะไปไหน"
ท่านโพธิธรรมจึงพูดขึ้นว่า "ฉันจะกลับไปอินเดียกลับไปปัลลวะบ้านเกิดของฉัน
แต่ตอนนี้ให้เธอรีบกลับไปเมืองหลวงเถิด เพราะที่นั่นกำลังเกิดเหตุการณ์ใหญ่
เป็นเพราะฮ่องเต้องค์จักรพรรดิได้เสด็จสวรรคตแล้ว"
ช่งหวินจึงถามท่านโพธิธรรมว่า "เมื่อท่านเร่งด่วนกลับไปปัลลวะแบบนี้
ใครจะเป็นผู้สืบต่อธรรมทายาทของท่านเล่า" ท่านโพธิธรรมจึงตอบไปว่า
"ก็นับแต่นี้ไปอีกสี่สิบปีในวันข้างหน้าภิกษุรูปนั้นจักปรากฏตัว"
เมื่อ
ช่งหวินได้กลับไปยังเมืองหลวง ก็มีความตกตะลึง เมื่อทราบข่าวความจริงว่า
ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตมาเกือบสามเดือนแล้ว
แต่ช่งหวินไม่เชื่อเพราะตนพึ่งพบเจอท่านโพธิธรรมเมื่อสองเดือนที่แล้ว
จึงนำความนี้เข้าไปบอกยังในพระราชสำนัก
พวกขุนนางและชาวบ้านต่างก็ไม่เชื่อคำพูดของช่งหวิน
จึงได้พากันมาขุดหลุมฝังศพในสุสานเพื่อเปิดโลงศพออกดู
จึงปรากฏความเป็นจริงขึ้นมาว่า ภายในหลุมฝังศพนั้นมีแต่โลงเปล่าๆ
ศพของท่านโพธิธรรมได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย คงเหลือแต่รองเท้าข้างเดียว
ที่ท่านโพธิธรรมทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าในโลงนั้น
การจากไปด้วยรองเท้า
เพียงข้างเดียว เพื่อกลับสู่ปัลลวะแห่งชมพูทวีป
เป็นการจากไปสู่ความเป็นนิรันดร บนเส้นทางอมตธรรม
เพราะหลังจากนั้นมาอีกเกือบสี่ร้อยปี
การส่งมอบบาตรและจีวรก็ได้ผ่านมาถึงสี่ห้าชั่วคน
นับแต่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไปแล้ว
และด้วยกาลเวลาที่ผ่านมาถึงสองร้อยกว่าปีแล้ว
บาตรจีวรและความเป็นผู้นำในการเผยแผ่ธรรม
ได้ตกทอดมาถึงสังฆปรินายกองค์ที่หกแห่งนิกายเซน ที่ชื่อ เว่ยหล่าง
ในขณะที่ท่านเว่ยหล่างได้เข้าอุปสมบทเป็นพระ อยู่ทางใต้ของแผ่นดินจีนแล้ว
และทำหน้าที่สังฆปรินายกอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในตำบลโซกาย แห่งเมืองชิวเจา
ก็อยู่มาวันหนึ่งมีภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระชาวเสฉวนชื่อ "ฟองบิน"
ได้เดินทางมากราบคาราวะท่านเว่ยหล่าง เมื่อทั้งคู่ได้สนทนากันจึงทราบได้ว่า
ท่านฟองบินนี้ก่อนที่ท่านจะได้เข้ามาอุปสมบทเป็นพระ
ท่านเคยเป็นพ่อค้าและเดินทางไปค้าขาย ที่เมืองปัลลวะทางอินเดียตอนใต้
ท่านฟองบินกล่าวว่า ท่านเคยเจอภิกษุรูปหนึ่งชื่อท่านโพธิธรรม
โดยท่านโพธิธรรมได้แนะนำให้ท่าน กลับมายังจีนบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อบวช
และท่านยังแนะนำให้มาหาท่านเว่ยหล่างเพื่อศึกษาเล่าเรียน
และมาปฏิบัติอยู่ด้วยกับท่านที่วัดนี้ โดยท่านโพธิธรรมได้กล่าวกับฟองบินว่า
หัวใจแห่งธรรมอันถูกต้องพร้อมทั้งบาตรและจีวร
อันท่านโพธิธรรมเองได้รับมอบต่อๆกันมาจากพระมหากัสสัปปะเถระนั้น
บัดนี้ได้ถูกส่งมอบสืบทอดมาถึงท่านเว่ยหล่างแล้ว
ท่านฟองบินจึงได้กล่าวกับท่านเว่ยหล่างว่า
ขอให้ท่านได้เห็นบาตรจีวรและธรรมอันถูกต้องด้วยเถิด
ด้วยคำพูดของ
ภิกษุฟองบิน ภิกษุชาวจีนแห่งเมืองเสฉวน
ที่เคยค้าขายอยู่ที่เมืองปัลลวะและเจอท่านโพธิธรรมที่นั่น
ความจริงก็คือความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น
นับแต่ที่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตไป
เมื่อท่านโพธิธรรมพึ่งได้เสียชีวิตใหม่ๆ หลังจากนั้นสามเดือน
ก็ยังมีคนเคยเห็นท่านเดินทางไปกับหมู่คณะ
และท่านก็ถือไม้เท้าที่แขวนด้วยรองเท้าข้างเดียว
และหลังจากนั้นมาอีกเกือบสามร้อยปี
ภิกษุฟองบินก็ไปเจอท่านที่เมืองปัลลวะแห่งอินเดียตอนใต้
และท่านโพธิธรรมผู้ซึ่งตายไปนานแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่
ยังได้แนะนำให้ภิกษุฟองบินกลับมารับธรรม
รับการถ่ายทอดวิถีธรรมอันคือธรรมชาติ
จากท่านเว่ยหล่างผู้ซึ่งเป็นสังฆปรินายกในขณะนั้น
เรื่องที่เป็นไป
ไม่ได้ มันจึงเป็นไปได้ กาลเวลาก็ทำหน้าที่เพียง เดินไปข้างหน้า
โดยไม่รั้งรอใครอะไรทั้งนั้น แต่ความเป็นอมตธรรมนั้น
มันอยู่นอกเหนือกาลเวลา ท่านโพธิธรรมมิได้จากไปไหน
รองเท้าในโลงศพของท่านข้างนั้นมันยังอยู่ มันรอท่านโพธิธรรม
เพื่อให้ท่านกลับมาใส่มัน ให้ครบทั้งสองข้าง ในกาลเวลาเหมาะสม ท่านโพธิธรรม
ยังคงอยู่
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น