วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม

บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม

ก็ ด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะปรุงแต่งนั้น โดยความหมายแห่งความเป็นสังขตธาตุหรือธรรมธาตุปรุงแต่ง มันคือปรากฏการณ์แห่งภาวะธรรมทั้งหลาย ที่มัน "เกิดขึ้น" และ "ตั้งอยู่" ในความเป็นตัวเป็นตน ก็ด้วยความเป็นจริงในการทำความเข้าใจ เพื่อศึกษาธรรมทั้งหลายเพื่อเป็นไปในความหลุดพ้นนั้น มันอาจเกิดสภาพการปรุงแต่งได้ในสามลักษณะ

คือ ลักษณะปรุงแต่งไปด้วยสภาพความเป็นเนื้อหา แห่งการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยแห่งการสั่งสมอนุสัย ซึ่งเป็นการปรุงแต่งออกมาจากใจที่ยังถูกหุ้มไปด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามนิสัยสันดานเดิมๆแห่งตนนั้น คือการปรุงแต่งไปในความเป็นทุกข์ ที่ตนยังมีอยู่อย่างเต็มหัวใจอยู่อย่างนั้น

คือ ลักษณะปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมต่างๆว่า อะไรเป็นอะไร อะไรคืออะไร ในกระบวนการแก้ไขปัญหาให้กับตนเอง และลักษณะการปรุงแต่งไป ในการยึดจับฉวยความหมายในธรรมเหล่านั้น ซึ่งมันเป็นภาวะธรรมที่ทำให้เราเข้าใจ ในเหตุปัจจัยแห่งกระบวนการมันในการแก้ไขปัญหานั้น จึงเป็นการปรุงแต่งไปในภาวะให้เกิดขึ้น

คือ ลักษณะปรุงแต่งไป ในการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัยในภาวะธรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติตามความเป็นจริง ว่าแท้จริงธรรมชาติคือความว่างเปล่า แบบเสร็จสรรพอยู่แล้วโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติของมัน เมื่อไม่เข้าใจ จึงทำให้นักปฏิบัติทั้งหลายเกิดพฤติกรรมทางจิต เข้าไปตรวจสอบภาวะจิตใจของตนว่า จิตของตนอยู่ในลักษณะไหนแล้วในขั้นตอนแห่งการปฏิบัติ และจะได้ทำการแก้ไขตนเองต่อไป แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติของมัน มันคือความเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันเป็นเนื้อหาความเป็นจริงที่อยู่นอกเหนือภาวะ แห่งปรากฏการณ์ความใช่หรือไม่ใช่ ความถูกหรือความผิด การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ การเข้าไปตรวจสอบจิตของตน ซึ่งคิดว่าตรงนั้นคือผลของการปฏิบัติ มันจึงล้วนเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาด้วยเหตุและปัจจัยนี้ในลักษณะหนึ่ง แท้ที่จริงแล้วด้วยธรรมชาติอันแท้จริง ซึ่งคือธรรมชาติตามความเป็นจริงของมันนั้น มันเป็นธรรมที่เป็นความเป็นจริงถูกต้องโดยเนื้อหาของมัน มาตั้งแต่แรกเริ่ม แรกเริ่มในความเป็นต้นธาตุต้นธรรม ตามสภาพของมันมาแบบนี้อยู่แล้ว ด้วยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น นี่คือธรรมที่เป็นความจริง และเป็นธรรมชาติที่ดำรงเนื้อหาของมันตามธรรมชาติอยู่แบบนี้เรื่อยมา จึงกล่าวได้ว่าความเป็นเราเองนี่แหละก็คือความเป็นธรรมชาตินั้น เราเองเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นธรรมชาตินั้นมาตั้งแต่ต้น กล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทุกสรรพสิ่งแห่งอนันตจักรวาลอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ทุกๆสรรพสิ่งแม้แต่ความเป็นอณูธรรมธาตุเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันล้วนแต่มีความหมาย แห่งความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันจึงเป็นความจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งทั้งมวลก็คือความเป็นต้นธาตุต้นธรรม คือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง เราไม่อาจแยกตัวออกมาจากความเป็นธรรมชาตินี้ได้เลย แม้แต่เพียงขณะหนึ่ง

ตถาคต เจ้าจึงทรงตรัสว่า ให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเป็นผู้มืดบอดด้วยอนุสัยแห่งตน และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังมืดบอดไม่เข้าใจในความเป็นจริง แห่งธรรมชาติที่แท้จริง และยังมีความโง่เขลาที่จะเข้าไปปฏิบัติ เพื่อให้สิ่งที่มันเป็นธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ให้เป็นภาวะธรรมเกิดขึ้น ตามความต้องการตามความไม่เข้าใจแห่งตน ให้สลัดทิ้งซึ่ง "ภาวะ" ธรรมอันคือการปรุงแต่งเหล่านี้ไปเสีย โดยตถาคตทรงตรัสชี้ถึง "ความมีอยู่" ของธรรมชาติอันแท้จริงนี้ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแห่งตัวมันเอง ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมันเป็นความดั้งเดิมแท้ของมันเองมาก่อนอยู่แล้ว อันคือต้นธาตุต้นธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาตามความเป็นจริงของมัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว และทรงตรัสให้เราทั้งหลาย จงลืมตาตื่นขึ้นต่อความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วของธรรมชาตินี้ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นธรรมชาตินั้น ของมันที่มีอยู่ก่อนแล้วอยู่อย่างนั้น และกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้





“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น