
บทที่ 40 ความเป็นพุทธะ
ถ้า
อสรพิษทั้งสามอยู่ในจิตท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความสกปรก
เมื่อธรรมชาติแห่งจิตมันคือความว่างเปล่า ปราศจากอสรพิษทั้งสามแล้ว
ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งธรรมชาติ ที่มีความสะอาดบริสุทธิ์อยู่อย่างนั้น
พระสูตรได้กล่าวว่า "ถ้าท่านอยู่ในดินแดนแห่งความสกปรก พุทธะภาวะก็ไม่ปรากฏ
เพราะความเศร้าหมองและความสกปรกทั้งหลาย หมายถึงความหลงและกิเลส
อันเป็นอสรพิษร้าย พุทธะหมายถึงธรรมชาติแห่งความสว่าง สะอาด สงบ"
ไม่
มีภาษาคำพูดใดๆ ที่ไม่ใช่ธรรมะเลย
ถ้าพูดได้ทั้งวันโดยไม่ได้พูดถึงสิ่งใดเลย
อันหมายถึงมิได้พูดเพื่อให้เกิดเป็นภาวะของสิ่งนั้น นี่คือ
มรรคอันเป็นธรรมชาติ การนั่งเงียบทั้งวันแต่ยังมีการพูดถึงบางสิ่ง
ที่มันกลายเป็นภาวะที่เกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นมรรค
และมันเป็นหนทางออกนอกเส้นทางธรรมชาติ
ดังนั้นวาจาของตถาคตเจ้านั่นคือสุรเสียงอันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ
ที่มิได้อาศัยความเงียบแต่อย่างใด ดังนั้นบัณฑิตผู้เข้าใจวาจาและความเงียบ
คือบุคคลที่อยู่ในความเป็นธรรมชาตินั้น อย่างมิได้แปรผันไปเป็นอย่างอื่น
มันเป็นธรรมชาติแห่งสมาธิอยู่อย่างนั้น ถ้ารู้หรือพูดออกมา
คำพูดด้วยวาจานั้นคือความเป็นอิสระ ถ้าไม่รู้แล้วเงียบ
ความเงียบก็คือความกังวล
อันคือภาวะแห่งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาแบบเงียบๆเช่นกัน
ถ้าไม่ยึดติดกับปรากฏการณ์ภายนอกเลย นั่นก็คือความเป็นอิสระ
ถ้าความเงียบได้ติดอยู่กับปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ความเงียบมันก็คือภาวะแห่งความกังวลอันมิใช่ธรรมชาติแห่งพุทธะภาษาโดย
เนื้อหาตามธรรมชาติมันคือความเป็นอิสระ
และโดยความเป็นธรรมชาตินั้นแห่งการพูดด้วยวาจาต่างๆ
มันไม่มีอะไรต้องทำด้วยการยึดมั่นถือมั่น
และการยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีอะไรต้องทำด้วยภาษา
ความจริงตามธรรมชาติไม่มีสูงไม่มีต่ำ ถ้าท่านพูดออกมา
ด้วยความมีค่าแห่งความสูงส่งและความด้อยค่าแห่งความต่ำต้อย
มันก็มิใช่ธรรมชาติที่แท้จริง
ไม่มีจิตก็ไม่มีพุทธะ
ปราศจากพุทธะก็ไม่มีจิต ใครก็ตามที่พูดถึงการปลดเปลื้องแห่งจิต
เขาผู้นั้นก็ย่อมอยู่ห่างจากจิตอันแท้จริง
เพราะจิตอันคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น
มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอยู่แล้วไม่มีอะไรให้ปลดเปลื้อง
เพราะฉะนั้นจงอย่ายึดมั่นในปรากฏการณ์แห่งจิต
และจะต้องเข้าไปปลดเปลื้องจิตอันคือปรากฏการณ์นั้นๆ ในพระสูตรกล่าวว่า
"เมื่อท่านได้เห็นปรากฏการณ์แห่งจิต ท่านก็เห็นพุทธะ" ซึ่งหมายความถึง
เมื่อท่านเข้าใจได้ตามความเป็นจริงแล้วว่า
แท้จริงมันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
และไม่สามารถยึดมันให้เป็นตัวเป็นตน ตามความปรารถนาของท่านได้ตลอดไป
มันเป็นเพียงความว่างเปล่าตามธรรมชาติอยู่แล้ว
หาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่
เมื่อปรากฏการณ์ย่อมมิใช่ปรากฏการณ์ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติ
ท่านก็ได้เห็นธรรมชาติแห่งพุทธะแล้ว
"ปราศจากจิตก็ไม่มีพุทธะ"
หมายความว่า พุทธะมาจากจิต จิตอันคือธรรมชาตินั้นให้กำเนิดพุทธะ
ถึงแม้พุทธะมาจากจิต แต่จิตก็ไม่ได้มาจากพุทธะ
อุปมาเหมือนปลามาจากน้ำอยู่อาศัยในน้ำ แต่น้ำมิได้เกิดจากปลา
ใครต้องการเห็นปลาก็ต้องมาดูที่น้ำซึ่งปลาได้อาศัยอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น
ใครต้องการพบเจอพุทธะ
ก็ต้องมาดูมาทำความเข้าใจในความเป็นธรรมชาติแห่งจิตเสียก่อน
เขาจึงจะเป็นพุทธะได้ เมื่อท่านเห็นปลาแล้ว ท่านก็ได้มองดูปลาว่าคือปลา
โดยไม่สนใจกับน้ำที่ปลาได้อาศัยอยู่ เมื่อท่านพบพุทธะแล้ว
พุทธะนั้นก็จะทำให้ท่านเข้าใจว่า พุทธะก็คือพุทธะ
โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับจิตอีกต่อไป
ปุถุชนกับความเป็นพุทธะ
เปรียบเสมือนน้ำกับความเย็น การที่ชีวิตมีแต่ความทุกข์โศกเป็นปุถุชนภาวะ
การที่เห็นธรรมชาติแห่งจิตตนเรียกว่าพุทธะ
ความเป็นธรรมชาติที่อาศัยเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน
น้ำแข็งก็ย่อมมาจากน้ำธรรมดา ธรรมชาติของน้ำแข็งก็คือความเป็นน้ำนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเป็นปุถุชนภาวะก็คือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นเอง
ภาวะทั้งสองแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นพุทธะ
มันอยู่ในความเป็นธรรมชาติเดียวกัน มันเป็นเพียงความแตกต่างแต่ชื่อ
แต่ความเป็นเนื้อหานั้น มันเท่าเทียมกันในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น
เมื่อ
งูกลายเป็นมังกรมันก็ไม่ได้เปลี่ยนเกล็ด เมื่อปุถุชนเปลี่ยนมาเป็นบัณฑิต
เขาก็ยังเป็นเขาคนเดิมมิได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป
เพียงแต่ใจเขาได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นพุทธะแต่เพียงเท่านั้น
กิเลสปลดปล่อยพุทธะและพุทธะก็ปลดปล่อยกิเลส ความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัสนั้น
ทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นธรรมชาติแห่งมนุษย์
และความรู้สึกสำนึกในความเป็นธรรมชาตินั้น
มันก็ช่วยให้เราเป็นอิสระอยู่นอกเหนือความทุกข์ยากนั้น
ถ้าไม่มีความทุกข์ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ยาก
ก็ไม่มีเหตุปัจจัยสำนึกในความเป็นเราขึ้นมา
และถ้าไม่มีความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะอันเกิดจากการสำนึก
ก็ไม่มีอะไรที่จะลบล้างความทุกข์ได้เช่นกัน
พุทธะแท้จริงมันก็คือความเป็นพุทธะตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นมิได้
เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นใดเลย เพียงแต่ความทุกข์เป็นเหตุและปัจจัยเดียว
ที่ทำให้เราก้าวเดินมาสู่ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้
เมื่อเรายัง
ถูก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำ ท่านก็ยังอยู่ฝั่งทางนี้
เมื่อท่านมีธรรมชาติแห่งการระลึกได้อยู่ทุกขณะว่า
แท้จริงนี้คือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่อย่างนั้น
ท่านก็อยู่ฝั่งทางโน้น
และเมื่อใดจิตของท่านได้เป็นจิตอันคือธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที โดยเป็นธรรมชาติแห่งความมีอิสระ
ไม่ยึดติดไม่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ภายนอก
ท่านก็อยู่เหนืออำนาจแห่งความหลง ใน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ท่านอยู่เหนือความรู้แจ้งอันทำให้ท่านเป็นอิสระ
โดยที่ท่านเป็นอิสระต่อการจะต้องอยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางโน้น
พระตถาคตเจ้าก็มิได้อยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางโน้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น