วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 19 จิต

บทที่ 19 จิต

จิตก็คือความคิดที่เป็นการปรุงแต่งขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงเนื้อหารายละเอียดอันสามารถบ่งบอกได้ ถึงทัศนคติโดยรวมแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งเรา จิตต่างๆเกิดจากการปรุงแต่งในความที่เห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นนั้นคือเรา เป็นการปรุงแต่งเพื่อความเป็นไปแห่งความเป็นตัวตน ของตนเองอยู่อย่างนั้น เป็นการปรุงแต่งในความเป็นตัวตนของตนเองต่อสิ่งรอบข้าง ที่เรายังมองเห็นอยู่ว่าสิ่งสิ่งนั้น "มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่เช่นกัน" ก็ด้วยอวิชชาความไม่รู้ที่พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ย่อมทำให้เรามีทิฐิเห็นว่ากายนี้คือเรา ย่อมทำให้เห็นว่าส่วนประกอบที่เป็นส่วนๆและเข้ามาประชุมกัน อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น มันคือความเป็นเราอย่างเหนียวแน่น แต่ในความเป็นจริงธรรมชาติย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ย่อมไม่เคยมีอะไรเลยสักสิ่งหนึ่งหรือทุกๆสิ่งเลย ที่สามารถเกิดขึ้นตั้งอยู่แสดงความเป็นตัวตนของมันปรากฏขึ้นมาได้ ตถาคตเจ้าจึงตรัสว่า จิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทุกชนิด ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะแท้จริงสิ่งต่างๆซึ่งเป็นจิตเหล่านี้ย่อมไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เพราะแท้จริงธรรมชาติอันแท้จริงมันย่อมว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามเนื้อหาตามสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น เมื่อนักปฏิบัติเผลอเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้น เพราะความขาดไป ซึ่ง "ธรรมชาติแห่งการระลึกได้ในทิฐิที่ถูกต้อง" ในขณะนั้น ก็ขอให้นักปฏิบัติทำความเข้าใจ ให้ตรงต่อความเป็นจริงในขณะนั้นเลยว่า มันไม่เคยมี "จิต" ชนิดนี้(ที่พึ่งปรุงแต่งขึ้น)เกิดขึ้นมาก่อนเลย และก็ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายทำความเข้าใจด้วยความตระหนักชัด ในขณะนั้นเช่นกันว่า แท้จริงธรรมชาติมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ซึ่งเป็นความดั้งเดิมแท้ แห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว หามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือจิตใดๆปรุงแต่งเกิดขึ้นไม่ มันจึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตรงเป็นการปฏิบัติชอบ ด้วยธรรมชาติแห่งการระลึกได้ตามทิฐิความเห็นที่ถูกต้องได้ ในขณะนั้นอยู่แล้วนั้นเอง เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นชัดตามความเป็นจริง โดยปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ตามสภาพเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้น นั่นแหละการปฏิบัติตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ตรงตามพุทธประสงค์ เป็นการปฏิบัติเพื่อความเป็นไปในการตระหนักชัดและซึมซาบ กลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่อย่างนั้น

แต่ ก็ด้วยอนุสัยความเคยชินเดิมๆของนักปฏิบัติทั้งหลาย และด้วยเพราะเหตุที่ยังไม่สามารถเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นไปในธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง จึงอาจมีความพลั้งเผลอทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เผลอขาดสติหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามอนุสัยความเคยชินตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน จึงกลายเป็นจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอยู่เนืองๆ

ก็ด้วยความที่พึ่งจะทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติ และยังไม่สามารถมีความเข้าใจอย่างถึงที่สุดในความตระหนักชัดแจ้งและยังไม่ สามารถกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันได้อย่างแนบสนิทในความเป็นธรรมชาติ นั้น นักปฏิบัติทั้งหลายจึงอาจมีความพลั้งเผลอขาดสติ หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา ตามสภาพที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางธรรมชาติ ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งเส้นทาง โดยยังมีอวิชชาความหลงเข้าไปยึดปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆนานา ขึ้นมา "อย่างมากมาย" ในชั่วขณะหนึ่ง ด้วยความที่ยังไม่สามารถตั้งมั่นในความซึมซาบ เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้ จึงกลายเป็น จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ

ก็ด้วยแท้จริงความเป็นธรรมชาติ มันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อยู่อย่างนั้นของมันเองอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติในความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น ในความว่างที่มันว่างตลอดแบบไม่ขาดสายของมันอยู่อย่างนั้น เป็นความบริบูรณ์พรั่งพร้อมโดยสภาพแห่งมันอยู่แล้ว มันเป็นความสมบูรณ์แบบโดยไม่จำเป็นต้องให้ใคร เข้ามาเสริมเติมแต่งแก้ไขในความเป็นมัน ในสภาพธรรมชาติที่เต็มบริบูรณ์ของมันอยู่อย่างนี้เองอยู่แล้ว ดังนั้นความเป็นธรรมชาติ มันจึงไม่ต้องการให้ภาวะหรือความเป็นปรากฏการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น มาเป็นเครื่องยืนยันถึงฐานะแห่งความสมบูรณ์ของความเป็นเนื้อหา หรือสภาพสมบูรณ์ของความว่างเปล่าของมันอีกเลย เพราะฉะนั้นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนตามธรรมชาติ จึงมิใช่ภาพแห่งความที่จะต้องมีความชัดเจน ที่นักปฏิบัติทั้งหลายจะเข้าไปกระทำจัดแจง ให้ความว่างเปล่าเกิดขึ้น "ตามความรู้สึก" อันเกิดจากความเข้าใจผิดไปเองแต่ฝ่ายเดียวของนักปฏิบัติ ว่าความว่างเปล่านั้น ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ต้องเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น ต้องมีการแก้ไขตรงโน้น ต้องเข้าไปทำเพิ่มตรงนี้ และก็ด้วยความเข้าใจผิดเหล่านี้ ก็อาจทำให้นักปฏิบัติทั้งหลาย เข้าไปรื้อค้นตรวจสอบและเข้าไปกระทำการใดๆ เพื่อให้ความว่างเปล่า ซึ่งมันมีสภาพที่แท้จริงตามธรรมชาติของมันอยู่แล้วนั้น ให้มัน "มีภาพออกมา" ตรงกับความรู้สึกความเข้าใจของนักปฏิบัติเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆต่อเนื้อหา ความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่านั้น ด้วยความเป็นไปดังกล่าวนี้ จึงอาจทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าไปปรุงแต่งจิตของตนขึ้นมา เพื่อเข้าไปรื้อค้นและเพื่อยืนยันฐานะการปฏิบัติธรรมแห่งตน จนกลายเป็น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากราคะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโทสะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตปราศจากโมหะ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตเป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่เป็นสมาธิ การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตไม่หลุดพ้น การปรุงแต่งเพื่อตรวจสอบว่าจิตหลุดพ้น เกิดขึ้นมาได้อย่างเนืองๆ

ก็ เมื่อเข้าใจว่ามันเป็นเพียงแค่ "จิต" ที่เป็นการปรุงแต่งขึ้นมาแต่เพียงเท่านั้น ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ชื่อว่าอะไรก็ตาม ไม่ว่ามันจะเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในทางความหมายใดๆก็ตาม มันก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่หามีความเป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นไม่ มันก็ล้วนเป็นเพียงจิตที่ไม่เคยมีความเกิดขึ้นมาก่อนเลยในวินาทีนี้ คือวินาทีแห่งความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้งแห่งเรา ว่าในความเป็นธรรมชาตินั้น มันก็ล้วนแต่เป็นเพียงความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนแบบเสร็จสรรพเด็ดขาด ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งความเป็นมัน อันคือการหาจุดเริ่มต้นในสภาพแห่งความเป็นมันนั้นไม่ได้ และอันหาจุดสิ้นสุดในสภาพความเป็นมันนั้นก็มิได้เช่นกัน ซึ่งเป็นความแรกเริ่มของมันมาอยู่แบบนั้นมานานแสนนานแล้ว




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น