
บทที่ 28 ไม่มีอริยสัจ
ธรรม
ที่เป็นสภาพในความเป็นมันอันแท้จริงนั้น มันก็คือความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนโดยตัวมันเอง
ซึ่งหมายความถึงมันเป็นความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น
โดยสภาพตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
ซึ่งเป็นไปตามความหมายที่ตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ซึ่งมีความหมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
ย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
ธรรมทั้งหลายย่อมคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า
โดยสภาพตัวมันเองอยู่อย่างนั้น แต่การอธิบายธรรมให้แก่ปุถุชนผู้มืดบอด
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอันคือธรรมชาตินี้อย่างแท้จริง
จึงเป็นการอธิบายเป็นไปในทางซึ่งการหักล้าง
กับทิฐิเดิมของผู้ที่มืดบอดที่พวกเขาเหล่านั้นได้ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้
ว่าทำไมธรรมซึ่งเป็นทิฐิเหล่านั้นจึงไม่ใช่ธรรมอันแท้จริง
และเป็นการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ที่ตรงต่อสภาพธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง
การอธิบายจึงเป็นไปในกระบวนการทำความกระจ่างชัดให้เกิดขึ้นว่า
อะไรคือปัญหาที่คุณกำลังเผชิญหน้าอยู่
และสาเหตุแห่งปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
และอะไรคือหนทางแห่งการแก้ไขปัญหานั้น และท้ายที่สุด
อะไรคือการแก้ไขปัญหาได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ
การอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ในกระบวนการทั้งหมด
"ของความเข้าใจ" เพื่อมุ่งไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริงนั้น
มันคือความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ในหนทางที่จะพาพวกคุณ
ไปสู่เส้นทางธรรมชาติที่แท้จริง
ซึ่งมันเป็นเนื้อหาธรรมตามธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
ที่มันเป็นไปตามสภาพของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
ธรรมอันคือเนื้อหาธรรมเพื่อทำความเข้าใจ
และเพื่อให้เกิดความตระหนักอย่างชัดแจ้งรู้แจ้งนี้
ตถาคตเจ้าทรงตรัสเรียกว่า "ธรรมอันคืออริยสัจ"
ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาอยู่ 4 อย่าง คือ ธรรมอันคือ ทุกข์ ธรรมอันคือ
สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมอันคือ นิโรธ ความดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย
อันคือสภาพธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาซึ่งคือความทุกข์ได้อย่างหมดจด
ซึ่งเป็นการแก้ไขได้ด้วยความเป็นจริงที่มันเป็นไป
ตามสภาพธรรมนั้นๆเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ธรรมอันคือ มรรค
หนทางที่เป็นความพ้นทุกข์ และดำเนินไปสู่ความเป็นเนื้อหาเดียวกัน
ของธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง แต่ด้วยธรรมอันคืออริยสัจนี้
เป็นธรรมชาติที่จะต้องนำมา "พิจารณา"
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและถูกต้อง
เพื่อที่จะได้ดำเนินไปในทางนั้น ก็ด้วยการเข้าไปพิจารณาในธรรมเหล่านี้
ที่ว่าด้วยอะไรเป็นอะไรตามเหตุปัจจัยของธรรมนั้น อันเป็น "เหตุผล"
ที่ทำให้เราเชื่อและเข้าใจในเนื้อหานั้น
ได้ตรงต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง
การพิจารณาดังกล่าวมันจึงเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็น "จิต"
เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะการเข้าไปพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านั้น
เป็นจิตที่เกิดขึ้นในความเป็นไปแห่งการแสดงภาพลักษณ์
แห่งความเข้าใจในธรรมอันแท้จริงของตน ขึ้นมาอย่างชัดแจ้งในมโนภาพ
ดังนั้นธรรมอริยสัจมันจึงเป็น "ปรากฏการณ์"
ในการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตาแห่งธรรมอันคืออริยสัจทุกครั้ง
ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในการพิจารณาธรรมนี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว
ก็โดยสภาพแห่งธรรมอันคืออริยสัจ
ที่เราได้พิจารณาและเกิดความเข้าใจในธรรมดังกล่าว
มันจึงเป็นเพียงธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่งไปในการพิจารณา
มันจึงยังไม่ใช่สภาพธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริง
ซึ่งมันคงมีแต่ความว่างเปล่าเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น
เมื่อกล่าวตามสภาพความเป็นจริง ธรรมอันคืออริยสัจที่เกิดขึ้น
มันจึงหาใช่ความหมายในความเป็นตัวเป็นตนไม่
ธรรมชาติแห่งธรรมที่แท้จริงมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน
ตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จึงหามี
"ธรรมอันคืออริยสัจ" นี้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงไม่ จึงเสมือนว่า
มันไม่เคยมีความปรุงแต่งธรรมอันคืออริยสัจนี้ เกิดขึ้นมาก่อนเลย
มันคงมีแต่ธรรมชาติอันแท้จริง คงทำหน้าที่ ใน
"ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่อย่างนั้น"
นี่
ก็เป็นเหตุผลเดียวตามความเป็นจริง ที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
ได้ตอบคำถามต่อจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ ที่ได้ถามปัญหาธรรมต่อท่าน
ในคราวที่ท่านได้เดินทางมาสู่แผ่นดินจีนที่เมืองกวางโจวใหม่ๆ
และท่านได้รับการนิมนต์เข้าไปยังเมืองหลวง ก็จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้องค์นี้
มีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
แต่ท่านก็ได้เอาแต่ทำบุญก่อสร้างวัดวาอาราม
โดยมิได้ใส่ใจในการศึกษาพระธรรมอย่างแท้จริง
ก็ในคราวนั้นจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ได้ถามปรมาจารย์ตั๊กม้อว่า ธรรมอันคือ
"อริยสัจ" คืออะไร ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้ตอบไปว่า "ไม่มี"
คำตอบอันเป็นความจริงโดยสภาพแห่งธรรมมันเอง
กลับทำให้จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้เกิดความขุ่นเคืองพระทัย
ก็ความเป็นจริงโดยสภาพแห่งธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริงนั้น
มันย่อมไม่มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามธรรมชาตินั้นมันย่อมเป็น
ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น
หามีธรรมใดๆหรือสิ่งใดๆจะเกิดขึ้นในความว่างเปล่าตามธรรมชาตินี้
ก็หาได้มีไม่ เพราะฉะนั้นการที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
ได้ตอบจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ไปว่า "ธรรมอริยสัจ" นั้น "ไม่มี"
จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เป็นความถูกต้องตามธรรมชาติว่า
จะหาความมีตัวตนในธรรมอริยสัจนี้ไม่ได้แม้แต่น้อยเลย
ธรรมอริยสัจนี้มันจึงเป็นความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ของมันอยู่อย่างนั้น
หาเคยมีมันเกิดขึ้นไม่
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น