
บทที่ 27 พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้แสดงธรรมอะไรเลย
ธรรม
ทั้งหลายที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น
สามารถแบ่งแยกแยะออกเป็นชนิดแห่งธรรมได้สองประเภท คือ
ธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะปรุงแต่ง
เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปโดยตัวมันเอง และธรรมที่มีคุณลักษณะเป็นอสังขตธาตุ
ซึ่งคือธรรมธาตุที่มีลักษณะ
ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันเองอยู่อย่างนั้น
ก็ด้วยความที่พระพุทธองค์มาตรัสรู้และประกาศธรรมใน "กลียุค"
เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในยุคนี้
ล้วนเป็นผู้มืดบอดไร้ซึ่งความมีปัญญาอันแท้จริง
จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธองค์ต้องตรัสธรรมอันเป็นสังขตธาตุ คือ
ธรรมว่าด้วยความมีความเป็น ความเป็นตัวเป็นตน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
ถึงแม้ธรรมเหล่านี้จะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้พ้นจากกองทุกข์ได้
แต่ด้วยการที่พระพุทธองค์ทรงมีความเมตตากรุณา แก่หมู่สัตว์น้อยใหญ่
ผู้ที่ยังต้องจมปลักอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งตน
และจะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
โดยไม่อาจมีเหตุปัจจัยที่จะหลุดพ้นในยุคที่
พระพุทธองค์กำลังประกาศศาสนาได้เลย พระพุทธองค์จึงจำเป็น
ต้องตรัสธรรมอันคือสังขตธาตุไว้ในทุกลักษณะ
เพื่อความเหมาะสมแก่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เข้ามารับธรรมนั้น
พระ
พุทธองค์ทรงตรัสเรื่อง การกระทำกรรมและการรับผลแห่งกรรม
เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่มีปัญญามากพอ
ที่จะเรียนรู้ศึกษาถึงธรรมซึ่งคือความเป็นจริงตามธรรมชาติได้
รับธรรมเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อให้เห็นคุณและโทษ
แห่งการที่ตนได้ยึดมั่นถือมั่นและได้กระทำกรรมต่างๆเหล่านั้นออกไป
พระ
พุทธองค์ท่านทรงตรัสเรื่องการรักษาศีล
เพื่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พอจะมีปัญญา
แยกแยะถึงเหตุและผลได้พิจารณาถึงสภาพจิตใจของตน
และให้ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยเหล่านี้ ได้ปรับปรุงสภาพจิตใจของตนเอง
ด้วยศรัทธาที่จะงดเว้นการปรุงแต่งจิตของตน
ไปในทางเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขแห่งใจตน
และเพื่อความสงบสุขในสังคมที่ตนเองได้ดำรงชีวิตอยู่
พระพุทธองค์ท่าน
ทรงตรัสเรื่องการเจริญกรรมฐาน ก็เพื่อให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ที่พอจะมีปัญญาและความเพียรที่จะพัฒนาตนเอง
ให้ไปสู่หนทางหลุดพ้นได้อย่างแท้จริงในกาลข้างหน้า
ท่านจึงทรงแนะนำบัณฑิตเหล่านี้
ให้รู้จักอุบายเพื่อทำจิตใจของตนให้สงบไม่ซัดส่ายไปในทิศทางอื่น
ก็ด้วยความสงบซึ่งเกิดจากการทำกรรมฐานนี้
เป็นภาวะที่ปราศจากสิ่งที่เป็นอุปสรรคของใจ
ซึ่งมันเป็นธรรมที่เข้ามาทำให้จิตใจขุ่นมัวไป
ในภาวะสับสนต่างๆตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน เมื่อจิตมีความสงบชั่วคราว
มันก็จะเป็นบาทฐานที่จะทำให้สามารถพิจารณาธรรมต่างๆ
ได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้นกว่าเดิม
พระพุทธองค์ตรัสเรื่องธรรม
อันคือธรรมชาติ ก็เพื่อให้เหล่าบัณฑิตที่มีปัญญามากพอแล้ว
และมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้หลุดพ้นในชาตินี้หรือชาติต่อๆไปได้
เข้ามาทำความเข้าใจธรรมที่แท้จริง
ซึ่งมันเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ
มันเป็นธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากเหตุปัจจัย
ที่จะทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องทนทุกข์ ไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้จบสิ้น
ก็
ด้วยธรรมต่างๆเหล่านี้ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสมา
และถูกรวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น
หาใช่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสขึ้นมาเองก็หาไม่
และเป็นความจริงที่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วยนั้น
"ล้วนมิได้แสดงธรรมอะไรเลย"
ท่านเพียงแต่ได้ตรัสสิ่งที่มันเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยเนื้อหาของมันเองแห่งธรรมชาตินั้นอยู่อย่างนั้น
ธรรมบางอย่างก็มีเหตุและปัจจัยด้วยอาศัย "การที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้อยู่"
เช่นนั้นเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้นๆ
ธรรมบางอย่างก็เป็นธรรมที่เป็นสภาพอยู่นอกเหนือเหตุและปัจจัย
ด้วยการที่มันเป็นเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น
โดยมิต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆเป็นแดนเกิดแห่งธรรมนั้น
การตรัสธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงเป็นเพียงการหยิบยกธรรมซึ่งมีเหตุปัจจัย
ให้ท่านได้ตรัสในขณะนั้นขึ้นมากล่าว ตามสภาพแห่งธรรมในขณะนั้น
ตามความเป็นจริงตามเหตุตามปัจจัยแห่งมัน
ก็ด้วยความเป็นพุทธวิสัย
แห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จะต้องมาโปรดบรรดาสรรพสัตว์โดยรอบบารมีแห่งตน
ในเส้นทางแห่งการสั่งสมบารมีของความเป็นพุทธะ
ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานนับไม่ถ้วนแห่งอสงไขย
ตามธรรมธาตุแห่งคุณลักษณะในความเป็นพุทธะของแต่ละองค์นั้น
การกระทำกุศลกรรมในทุกภพทุกชาตินั้น
จึงเป็นไปในลักษณะเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้การกระทำดังกล่าวนั้น
เป็นผลกรรมเพื่อมาแสดงเป็นกรรม "ตามวาระ"
และให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสถึงกรรมและธรรมนั้น
และเนื้อหากรรมทั้งหมดทุกภพทุกชาติที่ผ่านมา
มันจะถูกกรองด้วยระบบกรรมวิสัยโดยตัวมันเอง
เพื่อให้พระพุทธเจ้าองค์นั้นๆได้ตรัสเรื่องกรรมและธรรมต่างๆนั้น
ได้ครบทั้งหมดในความเป็นธรรมธาตุแห่งธรรมนั้นๆโดยถ้วนทั่ว
เพราะฉะนั้นในรอบบารมีแห่งการที่จะมีพระพุทธเจ้า
องค์ใดองค์หนึ่งลงมาตรัสแสดงธรรม
เพื่อทำหน้าที่โปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายในรอบบารมีแห่งตน
จึงเป็นการลงมาด้วยบารมีที่เป็นความเต็มพร้อมครบถ้วน
แห่งเหตุและปัจจัยในทุกด้าน
แห่งเนื้อหาลักษณะกรรมและลักษณะธรรมอย่างลงตัวไม่ขาดเกิน
เพราะฉะนั้นเหตุและปัจจัยที่ทำไว้อย่างพร้อมเพรียง
จึงเป็นเหตุและปัจจัยในทุกย่างก้าวที่พระพุทธเจ้าแต่ละองค์
ได้ทรงเสด็จดำเนินไปบนเส้นทางที่บริบูรณ์พร้อม
เป็นความพร้อมอย่างลงตัวที่จะทำให้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้หยิบยกเหตุปัจจัยในกรรมและธรรมเหล่านี้ขึ้นมาตรัส
จนครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง แห่งเนื้อหาในการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ในรอบของตน
เพราะฉะนั้นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น
มันจึงเป็นเหตุปัจจัยที่พร้อมเพรียงและเรียงหน้ากันเข้ามา
เพื่อเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ได้ทรงหยิบยกขึ้นมาตรัส
จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายที่ทรงเสด็จปรินิพพานจากโลกนี้ไป
ธรรมมันจึง
เป็นความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีหน้าที่เพียงเข้าไปหยิบธรรมเหล่านี้
ขึ้นมาตรัสสอนด้วยความรอบรู้แห่งตน
เพื่อโปรดบรรดาสรรพสัตว์ตามเหตุและปัจจัยนั้นๆแต่เพียงเท่านั้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น