บทที่ 10 เข้าสู่กระแสธรรมอันคือ ธรรมชาติ
ธรรมที่ตถาคตเจ้าได้ตรัส
ไว้ เพื่อเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจที่แปดเปื้อน ไปด้วยมลทิน ตัณหา
อุปาทานต่างๆนั้น
เป็นธรรมอันคือหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ นั่นคือ
อริยมรรค หรือ หนทางอันยิ่งใหญ่นั่นเอง
มรรคหรือหนทางที่นำพาเราออกจากทุกข์ได้ ก็คือ มรรคหนทางเดียวกันกับ
"มรรคหนทางที่ทำให้เราได้ซึมซาบ
กลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั่นเอง"
มันเป็นธรรมชาติแห่งทุกๆสรรพสิ่งที่อยู่รวมกัน
ด้วยความเสมอภาคในเนื้อหาอันเดียวกัน
คือความว่างเปล่าไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น
ก็ด้วยความเป็นมนุษย์ที่ไม่
เข้าใจในธรรมชาติแห่งตน
มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาความเป็นตัวตนของตนเองเป็นที่ตั้ง
ในการดำเนินชีวิตไปบนเส้นทางแห่งความประมาท เหตุและปัจจัยที่เข้ามาทาง ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นรูปกายของมนุษย์
มนุษย์ก็หลงผิดล้วนแต่จับฉวยจับกุมเข้าไปยึดสิ่งต่างๆเหล่านี้
ที่เข้ามาแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ จนกลายเป็นความคิดไปในทาง
ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์ผู้นั้น ก็เพราะ ตัณหา อุปาทาน
ความอยาก ที่มนุษย์ผู้หันหลังให้กับธรรมชาติ ยึดเอาเป็นสรณะว่า
"นี่คือตนนี่คือของตน" อยู่ตลอดเวลา
ความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแต่นำมาปรนเปรอ ความเป็นตัวตนของตนเองอยู่ร่ำไป
ตถาคต
เจ้าจึงตรัสว่า แท้จริงมันเป็นเพียงสักกายทิฐิ หรือความเห็นอย่างมืดมัว
ในความเป็นตัวเป็นตนของตนเองอยู่ตลอดเวลา แท้จริงสิ่งเหล่านี้หามีไม่
มันเป็นเพียงมายามาหลอกล่อ ให้เราติดกับดักในความเป็นตัณหาอุปาทานแห่ง
"ความเป็นเรา" พาเราทั้งหลายไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น
มันเป็นเพียงเหตุและปัจจัยที่ทำให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
เป็นความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มันเป็นเพียง "จิต"
เท่านั้นที่ถูกปรุงแต่งขึ้น
ในความเป็นจริงจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมันหามีไม่
แท้จริงความเป็นเราก็ไม่มีแม้แต่น้อย
ตถาคตจึงย่อยสลายความเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์ "ความเป็นเรา"
เหลือเป็นเพียงส่วนประกอบที่ประกอบเข้ากันเป็นมนุษย์ขึ้น
แบ่งออกเป็นห้าส่วน คือ ขันธ์ทั้งห้า กล่าวคือ ย่อยเหลือเพียง รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เท่านั้น
ก็เพราะขันธ์ทั้งห้านี่เองที่ทำให้มนุษย์หลงเข้าไปยึด
ว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นตนเองขึ้นมา และในความเป็นจริงขันธ์ทั้งห้าก็หามีไม่
แท้ที่จริงธรรมชาติมันคือความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
มันไม่เคยมีขันธ์ทั้งห้าเกิดขึ้นมาก่อนเลย
ก็เมื่อพวกเธอเข้าใจแล้ว
ว่า แท้จริงทุกๆสิ่งในความคิดที่พวกเธอผลิตออกมา
มันล้วนแต่เป็นเพียงจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นไปในความหมายว่า
นี่คือความเป็นตัวตนของพวกเธอเอง
และแท้ที่จริงจิตนั้นมันก็เป็นเพียงสิ่งที่พวกเธอเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
ในขันธ์ทั้งห้า จนก่อให้เกิดตัณหา อุปาทาน และกลายเป็น "จิต"
และเมื่อพวกเธอเข้าใจในความเป็นจริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้
ที่มันเป็นธรรมชาติของมันในความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ซึ่งหมายความว่า
มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า
เป็นความว่างเปล่าโดยที่มันไม่เคยมีขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นมาก่อนเลย อันจะทำให้พวกเธอเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้
ก็ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้ของมันนั่นเอง
ที่พวกเธอเข้าใจอย่างชัดแจ้งหมดซึ่งความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง
ซึ่งความลังเลสงสัยนั้น มันอาจจะทำให้พวกเธอหันเหไปสู่ข้อวัตรอื่นๆ
ที่พวกเธอผลิตขึ้นมาเอง
หรือเป็นข้อวัตรที่พวกเธอจดจำมาจากสำนักอื่นหรือศาสดาอื่นๆ
ซึ่งพวกเธอเข้าใจผิดว่ามันจะเป็นข้อวัตร อันทำให้พวกเธอพ้นจากความทุกข์ได้
ความเข้าใจอย่างชัดแจ้งหมดจดไร้ความเป็นตำหนิ ในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้
อย่างที่ไม่มีความคลอนแคลนไปในทางหนทางอื่นที่ว่านี้ มันเป็นความ
"ตระหนักชัด" อย่างชัดแจ้ง ในเนื้อหาธรรมชาติ
เป็นความตระหนักชัดอันนำพาพวกเธอเข้าถึงกระแสธรรม
ในธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้นี่เอง คือหลักธรรมเดียวอันเป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง
ที่ตถาคตเจ้าได้ประกาศธรรมชนิดนี้ล่วงมาเป็นเวลา 2,500 กว่าปีแล้ว
ก็ขอให้พวกเธอเข้าใจธรรมอันคือธรรมชาติตามนี้
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น