วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 11 ความทุกข์ยาก คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ

บทที่ 11 ความทุกข์ยาก คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ

ผ่านมาเป็นกัป เป็นกัลป์โดยนับไม่ถ้วนแห่งอสงไขยเวลา ที่กาลเวลาเหล่านั้นได้พาเราเองไปเวียนว่ายตายเกิดบนโลกใบนี้ ความที่ต้องทนถูกบีบคั้นกับภาวะต่างๆในชีวิตประจำวัน ในแต่ละภพแต่ละชาติที่ผ่านมาทุกภพทุกชาติไป มันเหมือนประสบการณ์ที่เป็นครูสอนเรา ให้ได้เรียนรู้กับชีวิตที่เดินไปบนหนทางอันมืดมน และไม่มีจุดจบบนเส้นทางนี้ ใจเมื่อหากหวังสิ่งใด หากได้มามันก็อยู่กับเราไม่นาน ยึดในสิ่งที่คิดว่าสมหวัง ท้ายที่สุดก็ต้องมานั่งเสียใจภายหลังว่า "มันจากไปแล้ว" มันจากไปด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ซึ่งคือความหมายแห่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นการพลัดพรากจากไปเป็นของธรรมดาตามแบบสามัญทั่วไป แห่งการไม่มีสิ่งสิ่งนั้นอยู่แล้วโดยความหมายโดยสภาพในตัวมันเอง หรือใจเมื่อหากหวังสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้นมา ก็เป็นความทุกข์ใจแบบซึ่งหน้า ณ เดี๋ยวนั้นอยู่แล้วนั่นเอง

ชีวิตของ มนุษย์ ผู้ที่มีความต้องการอยู่ในกมลสันดานอยู่ตลอดเวลา มันก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา ที่แสดงกรรมของตนเองต่อสิ่งรอบข้าง และต้องจำยอมรับผลกรรมนั้นอยู่ตลอดไป ด้วยอำนาจแห่งกรรมวิสัยนั้น ก็ในความเป็นมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์ด้วยกัน เป็นสังคมที่ดำเนินไปในทางความมีความเป็นแต่ถ่ายเดียว มนุษย์จึงมีความระมัดระวังในการแสดงออกต่อกัน ได้กระทำถูกบ้างกระทำผิดบ้าง มีความสุขใจบ้างมีความทุกข์ใจบ้าง แต่โดยเนื้อหาแล้วภาวะที่เข้ามาและแบกรับไว้ มันล้วนกลั่นกรองออกมาแสดงเป็นผลแห่งความทุกข์ที่เข้ามาบีบคั้น ให้ใจมนุษย์ต้องทนรับผลของมันอยู่ตลอดไป บางครั้งความทุกข์ยากที่ได้ก่อตัวขึ้น มันมากเสียจนกระทั่งให้หัวใจอ่อนๆของมนุษย์ ผู้ที่ไม่มีปัญญาแก้ไขปัญหาของตนเองได้ถูกวิธี ได้ผุพังกลายเป็นหัวใจที่แตกสลายยับเยิน ไม่อาจทนยินดีรับความทุกข์นั้นไว้ได้ ขาดความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ตามที่มันควรจะเป็นไป

แต่ ด้วยผลบุญซึ่งคือสภาพที่เป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายได้สร้างสมไขว่คว้าเอาไว้ ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้น ก็ทำให้บัณฑิตทั้งหลายได้เรียนรู้ว่า สิ่งต่างๆทั้งหลายที่เข้ามาบีบคั้นและต้องทนแบกรับไว้ แท้ที่จริงมันคือ "ทุกข์" มันเป็นสภาพแห่งความทุกข์ และทุกข์นี้เองมันทำให้บัณฑิตเหล่านี้ ได้พึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นเหตุที่ทำให้ต้องหาทางออกจากมัน ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นมันจะเป็นโทษ แต่ทุกข์นั้นโดยสภาพมันเอง มันก็คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ ที่มันทำหน้าที่เป็นเหตุและปัจจัย "อย่างแท้จริง" ที่ทำให้เราได้มีสติมีกำลังใจกระตุ้นเตือนตนเองว่า เราควรหนีห่างออกจากมันโดยฉับพลัน นี่คือ "ความทุกข์" แห่งพุทธะ




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น