
บทที่ 42 ปฏิบัติตามธรรมชาติ
"ผู้ที่มีความตั้งใจที่จะเข้าถึงความหลุดพ้น จากกรรมวิบากความทุกข์ทั้งปวง เขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร"
วิธี
ปฏิบัติที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติไปตามความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งจิต
เพราะแท้จริงแล้วจิตเป็นรากเหง้าแห่งความเป็นธรรมชาติ
ของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันเป็นความเจริญเติบโตของสิ่งทั้งปวง
ที่ล้วนออกมาจากความเป็นจิตที่แท้จริง ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจในความเป็นจิต
ทุกๆสิ่งก็ถูกรวมไว้ในจิตนี้หมดแล้วเช่นกัน
จิตอันคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ มันเสมือนเป็นรากของต้นไม้
เพราะผลดอกกิ่งก้านสาขาและใบ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของความเป็นต้นไม้ทั้งหมด
ล้วนอาศัยรากของมัน รากเป็นส่วนที่หาอาหารมาหล่อเลี้ยงลำต้น
เพื่อให้ดอกใบเจริญเติบโตงอกงาม ถ้าบำรุงที่รากของมัน
ต้นไม้ก็มีความเจริญเติบโตด้วยความอุดมสมบูรณ์ ถ้าท่านตัดราก ต้นไม้ก็ตาย
คน
ที่เข้าใจจิตของตนว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมออกมาจากจิตของตน
และทุกๆสรรพสิ่งกับจิตนี้ ย่อมมีความเสมอภาคมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกัน
ในความเป็นธรรมชาติของมันมาตั้งแต่แรกเริ่ม
คือความว่างเปล่าไร้ความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น
เมื่อเข้าใจว่าจิตเป็นธรรมชาติแบบนี้แล้ว คนคนนั้นก็สามารถบรรลุธรรม
โดยใช้ความเพียรพยายามในการทำความเข้าใจในธรรมชาติ
และกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันด้วยเหตุแห่งความเข้าใจนั้น
โดยใช้เวลาเพียงไม่นาน ส่วนคนที่ไม่ปฏิบัติธรรมโดยไม่เข้าใจจิตใจของตนเอง
ปฏิบัติธรรมไปก็ไร้ประโยชน์ ความดีหรือความเลวล้วนออกมาจากจิตของท่านเอง
การค้นหาสิ่งภายนอกนอกจากจิตอันคือธรรมชาตินี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้
"การเข้าใจความเป็นจิตของตนอย่างไร จึงจะถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง"
เมื่อ
พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจธรรมความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่
พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งชัดว่า ธาตุทั้งสี่ขันธ์ทั้งห้า
แท้ที่จริงมันหามีตัวตนแห่งขันธ์ธาตุทั้งหลายไม่
โดยธรรมชาติมันย่อมเป็นความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้น
และรู้แจ้งชัดว่าจิตนี้โดยธรรมชาติ
มันคือความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น
แต่ถ้าหากปรุงแต่งเป็นปรากฏการณ์แห่งจิตต่างๆที่เกิดขึ้น
จิตเหล่านี้ก็เป็นความไม่บริสุทธิ์โดยเนื้อหามันเองอีกเช่นกัน
จิตที่บริสุทธิ์พอใจในการกระทำความดี โดยทำไปแบบนั้นตามธรรมชาติของจิต
แต่จิตที่ไม่บริสุทธิ์ก็ถูกปรุงแต่งขึ้น ตามอำนาจแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
แห่งการทำความดีและการทำชั่ว
บุคคลที่มิได้รับผลกระทบใดๆจากอำนาจแห่งจิตชั่ว
คือผู้ที่เป็นอิสระแล้วในความเป็นธรรมชาติแห่งเขาเหล่านั้น
บุคคลเหล่านี้ย่อมอยู่ในความทุกข์และในสุขอันยั่งยืน
โดยปราศจากความแปรผันด้วยความหมดเหตุปัจจัยในการปรุงแต่ง
เป็นความสุขในความเป็นธรรมชาติแห่งการหลุดพ้นนั้น
ส่วนปุถุชนผู้มืดบอดย่อมถูกบีบคั้นด้วยจิตสกปรก
และยุ่งเหยิงซับซ้อนด้วยกรรมต่างๆนานาแห่งตน เพราะจิตสกปรกแปดเปื้อนมลทิน
ไปด้วยการปรุงแต่งในลักษณะหลากหลาย
ย่อมปิดบังธรรมชาติที่แท้จริงแห่งความเป็นเขาเหล่านั้น
ด้วยอำนาจแห่งการปรุงแต่งจึงพาเขาต้องไปเวียนว่ายตายเกิด
ในภพทั้งสามอยู่อย่างนั้น
ในพระสูตรได้กล่าวว่า "ในความเป็นปุถุชน
ก็มีความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะที่ไม่อาจทำลายมันลงไปได้
เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่แสงของมันได้สาดส่องไปทั่ว
แต่เมื่อใดมันถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบ ด้วยเงาของขันธ์ทั้งห้า
มันก็เหมือนแสงที่อ่อนแสงด้วยการถูกบดบังนั้น"
และในพระสูตรยังกล่าว
อีกว่า "ปุถุชนย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ
แต่มันถูกปกคลุมไปด้วยอำนาจมืดแห่งอวิชชา
ความเป็นพุทธะก็คือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
ที่มันว่างเปล่าโดยความเป็นมันเองอยู่อย่างนั้น
การรู้ชัดแจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ คือความหลุดพ้น"
การประจักษ์แจ้งในความเป็นธรรมชาติแห่งจิตตน
จึงเป็นรากฐานอันคือรากของต้นไม้ที่หาอาหารเลี้ยงบำรุงลำต้น
จึงก่อให้เกิดต้นไม้แห่งธรรมและผลิตผลออกมาเป็นนิพพาน การเข้าใจจิตของตน
ด้วยความหมายแห่งความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
อันคือ สัมมาทิฐินั่นเอง
"ก็ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกขณะ(สัมมาสติ)เป็นรากเหง้า แล้วอะไรเล่าเป็นรากเหง้าแห่งอวิชชา"
จิต
อันมิใช่ธรรมชาติแต่เป็นจิตที่หลงผิดไปในอวิชชา ย่อมประสบแต่ความทุกข์
ซึ่งเป็นความทะยานอยากไปในความชั่วร้ายอันไม่รู้จักจบจักสิ้น
อวิชชาได้หยั่งรากลึกตัวมันเองลงไปในกิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ก็ในเมื่อจิตซึ่งมีอวิชชาเป็นรากเหง้า มันก็ถูกห่อหุ้มไปด้วยกิเลสต่างๆ
มันย่อมเอาความชั่วนานัปการรวมเข้าไว้ด้วยกัน
กิเลสทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นจากอายตนะทั้งหกของเรานี่เอง
กิเลสคือพวกโจรทั้งหลายมันผ่านเข้าออกตามทวารของรูปกาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ และด้วยความทะยานอยากไปในตัณหา อุปาทาน
อันไม่มีประมาณด้วยอำนาจแห่งมัน
โจรเหล่านี้มันก็ทำให้เราหมกมุ่นอยู่ในความชั่วร้าย
และมันสามารถปกปิดความเป็นธรรมชาติแห่งจิต อันคือจิตที่แท้จริงของเราได้
มันจึงทำให้เราต้องเร่ร่อนไปในภพทั้งหลาย
และประสบแต่ทุกข์ภัยต่างๆอันหาประมาณมิได้เช่นกัน
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น