บทที่ 37 จิตสู่จิต
ตราบใดที่ท่านยังไม่เข้าใจพุทธะที่แท้จริง
หนทางที่ท่านเดินมันก็ยังคงเป็นหนทางที่ ได้สร้างกรรมให้กับตนเองอยู่ร่ำไป
หนทางนี้จะพาให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น
ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เต็มใจก็ตามที
แต่เมื่อท่านได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว
ธรรมชาตินี้ก็จะพาท่านหยุดสร้างกรรม และก็ไม่ต้องไปตายไปเกิด
ท่าน
อาจารย์ของฉัน คือ ท่านมหาปรัชญาตาระ ซึ่งเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 27
ท่านได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตซึ่งเป็นการถ่ายทอดจิตสู่จิต
เป็นการถ่ายความเข้าใจคือความเป็นจริงในธรรมชาติ
มาสู่ความเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นจิตของฉันเอง
ดังนั้นการที่ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวก็คือ
การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้แก่ชนชาวจีนได้สืบทอดธรรมเหล่านี้ต่อไป
ก็
"จิต" ที่พูดถึงนี่เองคือพุทธะ
มันมิใช่จิตที่เป็นภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไปในปรากฏการณ์ต่างๆ
แต่มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง จิตสู่จิต
ก็คือความชี้ตรงถึงความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นธรรมชาติของพวกท่านเอง
เมื่อจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
มันจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับการถือศีล การให้ทาน
หรือการเคร่งครัดในข้อวัตรแบบฤาษี เป็นการทานข้าววันละมื้อ การเข้าฌาน
การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้
ซึ่งคุณเอาจิตของคุณเองเข้าไปยึดติดโดยความชอบ
และคิดว่ามันคือสิ่งที่จะทำให้ความเป็นพุทธะเกิดขึ้นได้
ความคลั่งไคล้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งความเป็นภาพพจน์แห่งพุทธะ
ให้เกิดขึ้นตามจินตนาการของเขา ที่ออกนอกเส้นทางความเป็นธรรมชาติไป
เมื่อท่านได้หยุดพฤติกรรมการจินตนาการถึงพุทธะเหล่านี้ทิ้งไปเสีย
แล้วหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริง
ตามที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
จิตอันคือการรู้แจ้งแห่งธรรมชาติเหล่านี้
ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
พระพุทธเจ้า
ทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายถอดเรื่องจิต
พระพุทธองค์ไม่สอนธรรมชนิดอื่นเลย
ท่านสอนแต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติเท่านั้น
และถ้าหากผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ได้
ถึงแม้เขาจะไม่มีความรู้อะไรเลย และไม่สามารถอ่านหนังสือออกได้
แต่ความเป็นจริงที่พวกเขาได้ตระหนักชัด
ที่ทำให้เขาเป็นพุทธะที่แท้จริงได้คนหนึ่ง
แต่ถ้าท่านไม่พบความเห็นแจ้งอันคือธรรมชาติแห่งตน
ไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นออกมาจากการหลับใหลมืดมิด
ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้าเลย
และไม่มีวันที่จะได้รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้เลย
ต่อให้ท่านต้องปฏิบัติอย่างหนักหน่วง
จนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงย่อยยับไปเลยก็ตาม
ความเป็นพระพุทธเจ้าคือ
ธรรมชาติอันเป็นจิตดั้งเดิมของท่านนี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ใช่จิต
มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ประกอบไปด้วยเหตุและผล
มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน
โดยที่ไม่อาจจับต้องมันได้ หรือไม่อาจเอาความรู้สึกของเรา
ไปจินตนาการถึงความเป็นรูปร่างลักษณะแห่งมัน
มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่าของจิต
ที่รู้แจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้
มันจึงมิใช่เป็นจิตชนิดที่ปรุงแต่งขึ้นในเนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะ
มันเป็นจิตที่เป็นพุทธะของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว
นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลาย
ที่รู้แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะนี้แล้ว ปุถุชนผู้มืดบอดไปด้วย ตัณหา อุปาทาน
ความต้องการแห่งตน
ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามที่ใจตนเองปรารถนา
ก็จะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงตรงนี้ได้เลย
เพราะอำนาจแห่งอวิชชาพาหลงไปในทิศทางอื่น
แต่สิ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติ
ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมันแห่งเรา
รูปกายและธาตุทั้งสี่มันเป็นเพียง
การได้อยู่อาศัยกับสิ่งเหล่านี้เพียงชั่วคราว
และมันก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาติเลย
แต่ถ้าเราปราศจากมันก็มิอาจเคลื่อนไหวไปไหนได้เลย
ถ้ารูปกายนี้ไม่มีจิตมันจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร
จิตอันคือธรรมชาตินี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวไปได้
การเคลื่อนไหวทั้งปวงล้วนเป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต
การเคลื่อนไหวไปจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต
แต่การเคลื่อนไหวไปในทางความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนั้น
มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต และธรรมชาติแห่งจิตก็มิใช่การเคลื่อนไหวไป
ในทางความหมายแห่งความมีอัตตาตัวตนดังกล่าว
เพราะฉะนั้นแล้วการ
เคลื่อนไหวไป ก็คือการเคลื่อนไหวไปแบบนั้นตามธรรมชาติ
จิตจึงมิใช่การเคลื่อนไหวที่เป็นตัวเป็นตน
เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติแห่งจิตอันคือพุทธะนี้
คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดในความมีอิสรภาพเหนืออื่นใด
มันมิใช่เป็นการเคลื่อนไหวไปในความเป็นทาสแห่งความอยาก
ที่ปรุงแต่งเป็นจิตที่เป็นภาวะอัตตาตัวตนปรากฏขึ้น
จิตนี้มันจึงเป็นจิตตามธรรมชาติแห่งตนที่แท้จริง
มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ
มันจึงเป็นจิตและเป็นการเคลื่อนไหวไปแห่งรูปกายขันธ์ธาตุ
ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น