บทที่ 20 การเกิดขึ้นแห่งธรรม
ธรรมอันไม่ใช่สัมมาทิฐิ
ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดจากความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า
แล้วก่อให้เกิดเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
และกลายเป็นจิตซึ่งเป็นทิฐิความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง
ก็โดยตัวมันเองแล้วแห่งการที่เราเข้าไปยึด
มันก็ล้วนแต่เป็นการเข้าไปจับฉวยจับกุมในเนื้อหาธรรมนั้นๆ
ให้เกิดขึ้นในความรู้สึกในความเข้าใจของเรา ไปในทางความหมาย
แห่งความเป็นตัวเป็นตนของธรรมนั้นๆอยู่ตลอดเวลา
การที่เราตกไปสู่ห้วงลึกแห่งการถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลา
ในทิฐิความเห็นซึ่งไม่ตรงต่อเนื้อหาความเป็นธรรมชาตินั้น
มันก็กลายเป็นการเกิดขึ้นแห่งธรรม (เป็นตัวตนแห่งธรรมขึ้นมา)
อันอยู่บนพื้นฐานแห่งทิฐินั้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
ก็มาในบัดนี้
เมื่อเราเกิดมีความศรัทธาที่จะก้าวเดินเข้ามาสู่เส้นทางสัมมาทิฐิ
ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ
ตถาคตเจ้าจึงได้ทรงตรัสชี้ทางอันเป็นหนทางที่แท้จริงถูกต้อง
โดยท่านทรงชี้ให้ "พิจารณาเห็น" ถึง สภาพธรรมอันคือธรรมชาติ
ที่มันดำรงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
เป็นการพิจารณาในเนื้อหาธรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ้งชัด
โดยไม่มีอะไรเป็นความลังเลสงสัยให้เหลือแม้แต่นิดเดียว
อันจะทำให้เราพลัดหลงไปในเส้นทางอื่นอันเป็นความหลงผิดได้อีก
เมื่อเราได้พิจารณาและมีความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง
ในความเข้าใจในธรรมอย่างชัดเจนแล้ว ก็โดยเนื้อหาแห่งความเป็นจริง
การพิจารณาธรรม "จนเกิดภาพในความเป็นรูปลักษณ์แห่งธรรมนั้นๆ"
จนทำให้เราเข้าใจในความเป็นไปในลักษณะหน้าตาแห่งมัน มันจึงเป็นการ
"เข้าไปยึดมั่นถือมั่น" ในสภาพธรรมนั้นๆขึ้นมา มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์
แห่งการเกิดขึ้นของธรรมนั้นๆที่เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตน
เพื่อมารองรับความเข้าใจแห่งเราในการที่ได้พิจารณาไป ก็การพิจารณาธรรม
ซึ่งเนื้อหามันก็เป็นการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมนี้
มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งการเข้าไป
ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้น ในการปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรม
มันเป็นความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนแห่งการเข้าไปพิจารณานั้น
การพิจารณาธรรมก็เป็นไปเพียงแค่ประโยชน์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอย่างถ้วนทั่ว
ในความเป็นจริงแห่งเนื้อหาของมันแต่เพียงเท่านั้น
แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมอันแท้จริง มันคือความเป็นไปในเนื้อหาของมันเอง
"ตามธรรมชาติ" อยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น
ธรรมชาติมันเป็นความนอกเหนือทุกสรรพสิ่ง ด้วยความหมายแห่งตัวมันเอง
มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือความเป็นเหตุและผลทั้งปวง
มันเป็นความหมายที่อยู่นอกเหนือการพิจารณาใดๆทั้งปวงเช่นกัน
เพราะ
ฉะนั้นการปรุงแต่งเพื่อพิจารณาธรรมสัมมาทิฐิ
อันคือปรากฏการณ์การที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งๆ
เป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตนแห่งธรรมในสัมมาทิฐิทั้งหลายนั้น
มันเป็นเพียงมายาแห่งจิตที่กระทำขึ้น
การเกิดขึ้นเช่นนี้มันจึงหาใช่ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่
เพราะธรรมชาติมันคงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
จึงถือว่ามันไม่เคยมีการเกิดขึ้นแห่งธรรมซึ่งเป็นอัตตาตัวตนต่างๆ
เหล่านี้ขึ้นมาก่อนเลย มันคงมีแต่ความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นของมันเอง ตามสภาพธรรมชาติอยู่อย่างนั้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น