บทที่ 4 เดินทางสู่การเพาะบ่ม
ด้วยอนาคตังสญาณแห่งปรัชญาตาระเถระ
ที่ได้ล่วงรู้ด้วยอำนาจอภิญญาแห่งตนว่า ผืนแผ่นดินแห่งปัลลวะจะลุกเป็นไฟ
เพราะการณ์ข้างหน้าจะเกิดเหตุมีศึกสงครามครั้งใหญ่
นับแต่ท่านจะได้ดับขันธ์ล่วงไปแล้ว 67 ปี
เมื่อไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงกรรรมวิบากแห่งสรรพสัตว์
ที่ต้องชดใช้ซึ่งกันและกันนี้ได้ เมื่อเกิดอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง
ในการเผยแผ่ธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านมหาปรัชญาตาระเถระจึงได้แนะนำให้ลูกศิษย์ของตน คือ ท่านโพธิธรรม
ให้ตระเตรียมการไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อถ่ายทอดธรรมนี้ไปยังผู้ที่สมควร
จะได้รับธรรมให้สืบต่อไปในภายภาคหน้า
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ท่านโพธิธรรมจึงวางแผนส่งพระภิกษุสองรูป
ผู้ซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์และแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ
ให้เดินทางไปยังจีนล่วงหน้าก่อน เพื่อดูลาดเลาความเป็นไปในบ้านเมืองจีน
แต่
การเดินทางมาถึงของภิกษุสองรูป
กลับไม่ได้รับการต้อนรับจากชนชาวจีนแต่อย่างใด
อาจเป็นเพราะด้วยการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน
แต่การเดินทางเพื่อมาสำรวจล่วงหน้าของภิกษุสองรูปนี้
ก็มิได้เป็นการเสียเวลาเปล่า ภิกษุสองรูปนี้ก็ยังได้ถ่ายทอดธรรมอันแท้จริง
ให้แก่ภิกษุชาวจีนรูปหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์มากมาย
และเป็นเจ้าอาวาสวัดที่ภิกษุสองรูปได้เข้าพำนัก
ซึ่งเป็นอารามที่อยู่บริเวณเทือกเขาหลู่ซัน ท่านพระอาจารย์รูปนี้มีนามว่า
"ฮุ่ย เอวียน" ท่านฮุ่ย เอวียน เป็นพระที่เคร่งครัด
ต่อการท่องสวดพระสูตรต่างๆในมหายาน
เมื่อภิกษุสองรูปจากปัลลวะได้จาริกเดินทางมาถึงเขาหลู่ซัน
และได้เข้าพำนักที่อารามแห่งนี้ จึงได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ฮุ่ย
เอวียน พระอาจารย์ฮุ่ย เอวียน จึงถามภิกษุสองรูปนี้ไปว่า
พวกท่านมาเผยแผ่ธรรมที่จีนนี้ได้นำเอาธรรมชนิดไหนเข้ามา
แล้วทำไมล่วงมาถึงป่านนี้ชาวจีนจึงยังไม่ศรัทธาพวกท่าน
ภิกษุชาวปัลลวะทั้งสองจึงได้โต้ตอบออกไปทันควัน
ด้วยภาษามือที่สื่อกันโดยไม่ต้องออกเสียง
ด้วยการยื่นมือไปข้างหน้าแล้วดึงมือนั้นกลับมาอย่างรวดเร็ว
และภิกษุทั้งสองก็ได้กล่าวว่า ไม่ว่าความเป็นพุทธะที่ท่านอาจารย์อยากจะรู้
มันมีสภาพไม่ต่างกันเลยจากความทุกข์ที่ท่านอาจารย์ยังคงแบกไว้
มันก็มีอาการเกิดขึ้นและดับไปรวดเร็ว
เช่นเดียวกับมือของข้าพเจ้าที่ยื่นให้ท่านดู ด้วยการเกิดขึ้นแห่งมัน
และชักกลับคืนมา ด้วยการดับไปแห่งมันเช่นกัน
และสิ่งที่ท่านเห็นอยู่ต่อหน้าด้วยความว่างเปล่าในอากาศ
ด้วยความไม่มีอะไรของมันเองอยู่อย่างนั้น
นั่นแหละคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่ข้าพเจ้าทั้งสองได้นำมาเผยแผ่
แต่หาคนรับธรรมนี้แทบไม่มีเลยสักคน เมื่อท่านอาจารย์ฮุ่ย เอวียน
ได้ฟังได้เห็นดังนั้นแล้ว จึงมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า
ความอยากรู้ในสภาพธรรมที่แท้จริงของตนเองนั้น ที่จริงมันก็คือตัณหาใน
"ความอยากรู้" และมันก็คือภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้น
และมันก็ไม่มีความแตกต่างจากความทุกข์เดิม
ที่ตนเองมีก่อนอยู่แล้วและยังแบกมันอยู่
ด้วยภาวะแห่งการอยากแก้ไขทุกข์ของตน ด้วยการอยากรู้ธรรมอันแท้จริง
กับภาวะทุกข์ที่ตนมีอยู่เดิม มันก็ล้วนเป็นความทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น
ท่านจึงได้ตระหนักชัดรู้แจ้งในขณะนั้นเลยว่า
แท้จริงธรรมชาติมันย่อมไม่มีอะไรอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
เหมือนอากาศที่มันว่างเปล่าที่อยู่ต่อหน้าท่าน ปราศจากมือที่ถูกชักกลับ
แท้จริงธรรมชาติมันย่อมว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น
แท้จริงธรรมชาติมันย่อมคือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
อยู่แล้วโดยตัวมันเองเช่นกัน เมื่อท่านอาจารย์ฮุ่ย เอวียน
ได้รู้แจ้งสว่างในธรรมแล้ว ท่านจึงได้นิมนต์ให้ภิกษุสองรูปชาวปัลลวะ
ซึ่งกลายเป็นอาจารย์สอนธรรมท่านไปแล้วภายในพริบตาเดียว
ได้พำนักอาศัยอยู่กับท่านที่นี่ และก็เป็นการมาที่มิได้ไปไหนอีกเลย
ภิกษุสองรูปนี้ได้พำนักอาศัยอยู่ที่นี่
ตราบจนได้ดับขันธ์ทิ้งร่างสรีระไว้กลายเป็นศพ ถูกฝัง ณ เชิงเขาหลู่ซัน
หลุมศพของภิกษุทั้งสองรูปนี้ ก็ยังปรากฏหลักฐานมาตราบจนทุกวันนี้
การตายของภิกษุทั้งสอง เป็นการตายเพื่อรอคอยพระอาจารย์ของตน
คือท่านโพธิธรรมตั๊กม้อ มารับกลับไปเมืองปัลลวะที่อินเดีย
เป็นการอยู่รอคอยถึงร้อยปี ณ หลุมฝังศพนั้น
และภิกษุทั้งสองก็ได้เดินทางกลับปัลลวะพร้อมกับท่านโพธิธรรม
เมื่อหลังจากที่ท่านโพธิธรรมได้เสียชีวิตลงแล้วศพหายไป
เมื่อภิกษุ
สองรูปได้เสียชีวิตลง โดยมิได้มีการส่งข่าวกลับมายังเมืองปัลลวะเลย
เมื่อกาลเวลาได้ผ่านไปอยู่หลายปี ท่านโพธิธรรมจึงตัดสินใจโดยสารเรือ
เพื่อมายังเมืองจีนด้วยตัวท่านเอง
โดยครั้งนั้นท่านได้ลงเรือโดยสารมาลำเดียว กับภิกษุที่ชื่อ มหาปัลลิปุรัม
(Mahaballipurum) ด้วยการเดินออกมาทางชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
มายังช่องแคบทางหมู่เกาะสุมาตรา (ปลายเกาะประเทศมาเลเซีย)
และลัดเลาะไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก
เพื่อไปขึ้นแผ่นดินจีนทางตอนใต้เมืองกวางโจว โดยท่านใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น
3 ปี
ก็ในสมัยนั้นประมาณพุทธศตวรรษที่สาม
ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นจีนสองราชวงศ์ คือราชวงศ์ไว่ และราชวงศ์ซ่ง
โดยแบ่งเป็นราชวงศ์ฝ่ายเหนือและราชวงศ์ฝ่ายใต้
และก็ถูกแบ่งกันอย่างนี้มาเรื่อย
ท่านโพธิธรรมได้เดินทางมาจีนเมื่อเข้าปลายพุทธศตวรรษที่ห้า คือประมาณปี
พ.ศ. 475 ในขณะนั้นพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังจีน
ก่อนหน้านั้นนานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 65 ในพุทธศตวรรษแรก
ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำชูจากกษัตริย์ ผู้มีใจใฝ่บำรุงพระพุทธศาสนาในยุคนั้น
และพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นหยังรากลึก ลงไปในดินแดนแห่งจีนนี้มาโดยตลอด
จนกระทั่งจวบถึงวาระแห่งท่านโพธิธรรม
ที่ได้นำคำสอนที่แท้จริงมาโปรยธรรมธาตุไว้
เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดศึกษาธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้คงอยู่สืบต่อไป
โดยในขณะนั้น จีนได้มีการก่อสร้างวัดวาอารามอย่างมากมายจนถึงหมื่นวัด
ซึ่งเป็นจำนวนที่รวบรวมไว้แล้วทั้งจีนตอนเหนือและจีนตอนใต้
และนักบวชที่เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาจริงๆ ไม่รวมนักบวชลัทธิเต๋าและขงจื้อ
มีจำนวนมากกว่าสองล้านรูป เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึงกวางโจวใหม่ๆ
ท่านได้ขึ้นฝั่งที่ท่าเรือหนานไห่
และท่านก็ได้รับการนิมนต์ให้อยู่ที่ศูนย์พระพุทธศาสนา
ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน และในโอกาสนี้เองเมื่อได้พำนักอยู่ที่นี่
ท่านโพธิธรรมจึงได้มีเวลาศึกษาเรียนรู้ภาษาจีน
จนท่านมีความคล่องแคล่วสามารถสื่อสารภาษาจีนกับชนชาวจีน
ได้สะดวกและมีความหมายที่ถูกต้อง
ต่อมาท่านได้ย้ายเข้าไปอยู่เมือง
หลวงที่ชื่อว่า เฉียนกัง (Chienkang)
ทั้งนี้เป็นกิจอันสำคัญยิ่งที่ท่านได้รับนิมนต์
ให้เข้าไปแสดงธรรมต่อหน้าองค์จักรพรรดิในเวลานั้น
แต่ก็ไม่เกิดประสพความสำเร็จแต่อย่างใด
เพราะจักรพรรดิหามีความเข้าใจธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง
ที่ท่านโพธิธรรมได้เทศนาออกไปไม่ ท่านโพธิธรรมจึงเดินทางออกมาจากเมืองหลวง
ด้วยไร้ซึ่งความหวัง
เพราะถ้าหากองค์จักรพรรดิได้รู้แจ้งตระหนักชัดในธรรมที่ท่านได้เทศนา
การเผยแผ่ธรรมในจีนโดยเฉพาะทางจีนตอนใต้ คงเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
เพราะอาจได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้ที่มีอำนาจปกครอง
ซึ่งคือกษัตริย์ในยุคนั้น
ท่านจึงเดินทางลงมาและข้ามแม่น้ำที่เมือง
แยงซี และได้เข้าไปพำนักอาศัยอยู่ที่เมืองโลหยาง (Loyang)
ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโล
และเป็นเมืองหลวงใหม่ที่พึ่งถูกย้ายมา และถูกสถาปนาความเป็นเมืองหลวงขึ้น
ด้วยจักรพรรดิ เฉาเวน (Hsiao-wen) และหลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์ให้ท่าน
ต้องอยู่ใกล้ๆวัดเส้าหลิน
และนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหากำแพงโดยไม่ไหวติงถึงเก้าปีเต็ม
เป็นเวลายาวนานถึงเก้าปีแห่งการรอคอย
เพื่อเพาะบ่มเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะเมล็ดหนึ่ง ที่ชื่อ เสินกวง(ฮุ่ยเค่อ)
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น