หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
มีวางขายจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป
ในราคาเล่มละ 239 บาท ความหนา 340 หน้า
นิกายเซน
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 42 ปฏิบัติตามธรรมชาติ
|
|
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 41 กรรม
บทที่ 41 กรรม
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แห่งตนย่อมพาสร้างกรรม แต่กรรมมิได้เป็นผู้สร้างคน เพราะคนคือธรรมชาติที่เป็นมาอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเขาพากันก่อกรรมต่างๆ และต้องรับผลแห่งกรรมนั้นไปบนหนทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด ความเป็นคนไม่เคยพ้นเส้นทางกรรม มีแต่คนที่รู้จักตนเองในความเป็นธรรมชาติแห่งตนที่ได้เกิดมา คนเหล่านี้ได้เดินไปบนมรรคแห่งความเป็นธรรมชาติแล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม บุคคลผู้เดินอยู่บนมรรคอันบริบูรณ์ถึงพร้อมนี้ อาจสร้างกรรมด้วยการกระทำแสดงออก แต่บุคคลเหล่านี้ก็มิได้สร้างความเป็นตัวเอง ในความเป็นตัวตนในการกระทำนั้น ปุถุชนผู้ชอบทำกรรมและยืนยันอย่างผิดๆต่อความเป็นจริงว่า "กรรมที่ทำย่อมไม่มีผลตอบสนอง" ก็ในเมื่อพวกเขาคิดเช่นนี้ หากกรรมเหล่านั้นให้ผลตอบสนอง พวกเขาจะทนทุกข์ได้หรือไม่ เขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจิตปัจจุบันของเขาเองได้สั่งสมกรรมอะไรมา สภาพจิตที่เกิดขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุและปัจจัยในกาลข้างหน้า ก็ย่อม "เก็บเกี่ยวผล" มีความเกี่ยวข้องกับผลกรรมนั้นอีกต่อไป และพวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับกรรมเหล่านี้ เพราะพวกเขายังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงตามธรรมชาติ พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร แต่ถ้าความเป็นจริง พวกเขาได้รู้จักความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะของตน และเป็นอิสระอยู่นอกเหนือกรรม จิตอันเป็นปัจจุบันของพวกเขา ก็เป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ แล้วสภาวะจิตของพวกเขาในวันข้างหน้า ก็คงเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติเช่นนี้อยู่เหมือนเดิม จึงเป็นจิตที่ไม่สามารถสั่งสมกรรมได้อีกต่อไป
ในพระสูตรกล่าวว่า แม้ชาวพุทธจะมีความเลื่อมใสในความเป็นพระพุทธเจ้า แต่ชาวพุทธเหล่านี้ก็มองความเป็นพระพุทธเจ้าไปแบบผิดๆ พวกเขาเข้าใจว่ามีเพียงความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และยังคิดเลยเถิดไปไกลอีกว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ พวกนี้ไม่อาจเข้าใจในความหมาย แห่งความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฐิไม่อาจเชื่อถือได้ คนที่เข้าใจคำสอนแท้จริงของบัณฑิต ก็สามารถกลายเป็นบัณฑิตได้ คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนและถูกครอบงำให้ปฏิบัติตาม เขาก็เป็นปุถุชน บุคคลผู้มีความเป็นบัณฑิตย่อมมองหาคนที่รู้ถึงความเป็นจริง และสามารถสั่งสอนเขาได้
ในพระสูตรกล่าวว่า "อย่าสอนธรรมอันแท้จริงให้แก่คนที่ไม่เข้าใจ" และยังมีข้อความอีกว่า "ใจซึ่งคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น คือ คำสอน" คนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติเขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในทิฐิของเขา และเมื่อพวกเขาปฏิเสธความจริงอันคือธรรมชาตินี้ การปฏิเสธจะทำให้พวกเขาหันหลังให้กับความจริง ด้วยทิฐิที่พวกเขาพยายามก้าวเดินไปในหนทางอื่นอันหลงทาง ไม่อาจหวนกลับมาสู่ความจริงได้ เมื่อเขายังไม่เข้าใจเราก็ยังไม่ควรสอนเขา การสอนโดยขาดความศรัทธาความเชื่อในความเป็นจริงตามธรรมชาติ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่างมากมาย คนพาลผู้ขาดปัญญาเหล่านี้ ย่อมชอบหาความรู้ไกลความเป็นจริงแห่งตัวเองออกไป และเป็นการหาความรู้ที่ไม่ก่อประโยชน์อันใด เช่น ใฝ่หาเอากับพระพุทธรูป ธูปเทียนและแสงสีเป็นต้น พวกเขายอมให้จิตของเขาถูกกดขี่ไปด้วยอำนาจอวิชชา แห่งการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียความเป็นธรรมชาติแห่งจิตของตนเอง ไปกับสิ่งเหลวไหลไร้สาระ
พระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านเห็นปรากฏการณ์ทั้งปวงไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคตเจ้า" ประตูที่นำไปสู่สัจจะความเป็นจริงนั้นเป็นหมื่นเป็นแสน ทุกๆประตูเหล่านี้ก็สงบออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์แห่งจิตก็มิใช่จิตที่แท้จริง มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มิได้เกิดขึ้นเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด มันย่อมเลือนหายไปเหมือนมิได้ปรากฏขึ้นมาก่อนเลย มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่มิใช่ปรากฏการณ์ เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ เขาย่อมกังวลถึงความตาย และเมื่อพวกเขามีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข พวกเขาก็กังวลถึงความหิว ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาใช้ชีวิต ด้วยความอยากแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อยู่ตลอดเวลา ผู้รู้แจ้งย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อรอสัจธรรมแห่งชีวิตคือความตาย ผู้รู้แจ้งเมื่อชีวิตเขามีความสุข พวกเขาก็มีความสุขที่แท้จริงแห่งสัจธรรมตามธรรมชาติ เขาย่อมไม่มีความกังวลใดๆ เมื่อหิวเขาก็ย่อมกิน เมื่อง่วงเขาก็ย่อมนอน
ชีวิต ของปุถุชนคือชีวิตที่แปรผันไปตามเหตุและปัจจัยอยู่เสมอ แต่ชีวิตของบัณฑิตผู้ที่เดินบนมรรค ย่อมไม่กังวลถึงอดีต และไม่คิดถึงอนาคต และไม่ยึดติดอยู่กับความเป็นปัจจุบัน จิตอันคือธรรมชาติของบัณฑิตเหล่านี้ย่อมเป็นอิสระอย่างแท้จริง ย่อมอยู่นอกเหนือการไปการมาแห่งทุกห้วงของกาลเวลา ถ้าท่านเป็นผู้มืดบอดหลงอยู่ในวังวนแห่งชีวิตตนเอง ก็ขอให้ท่านรีบตื่นออกมาจากความหลับใหล แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริง อย่าหมกมุ่นอยู่กับชีวิตอันขาดสติของตนอีกต่อไป
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แห่งตนย่อมพาสร้างกรรม แต่กรรมมิได้เป็นผู้สร้างคน เพราะคนคือธรรมชาติที่เป็นมาอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเขาพากันก่อกรรมต่างๆ และต้องรับผลแห่งกรรมนั้นไปบนหนทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด ความเป็นคนไม่เคยพ้นเส้นทางกรรม มีแต่คนที่รู้จักตนเองในความเป็นธรรมชาติแห่งตนที่ได้เกิดมา คนเหล่านี้ได้เดินไปบนมรรคแห่งความเป็นธรรมชาติแล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม บุคคลผู้เดินอยู่บนมรรคอันบริบูรณ์ถึงพร้อมนี้ อาจสร้างกรรมด้วยการกระทำแสดงออก แต่บุคคลเหล่านี้ก็มิได้สร้างความเป็นตัวเอง ในความเป็นตัวตนในการกระทำนั้น ปุถุชนผู้ชอบทำกรรมและยืนยันอย่างผิดๆต่อความเป็นจริงว่า "กรรมที่ทำย่อมไม่มีผลตอบสนอง" ก็ในเมื่อพวกเขาคิดเช่นนี้ หากกรรมเหล่านั้นให้ผลตอบสนอง พวกเขาจะทนทุกข์ได้หรือไม่ เขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจิตปัจจุบันของเขาเองได้สั่งสมกรรมอะไรมา สภาพจิตที่เกิดขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุและปัจจัยในกาลข้างหน้า ก็ย่อม "เก็บเกี่ยวผล" มีความเกี่ยวข้องกับผลกรรมนั้นอีกต่อไป และพวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับกรรมเหล่านี้ เพราะพวกเขายังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงตามธรรมชาติ พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร แต่ถ้าความเป็นจริง พวกเขาได้รู้จักความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะของตน และเป็นอิสระอยู่นอกเหนือกรรม จิตอันเป็นปัจจุบันของพวกเขา ก็เป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ แล้วสภาวะจิตของพวกเขาในวันข้างหน้า ก็คงเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติเช่นนี้อยู่เหมือนเดิม จึงเป็นจิตที่ไม่สามารถสั่งสมกรรมได้อีกต่อไป
ในพระสูตรกล่าวว่า แม้ชาวพุทธจะมีความเลื่อมใสในความเป็นพระพุทธเจ้า แต่ชาวพุทธเหล่านี้ก็มองความเป็นพระพุทธเจ้าไปแบบผิดๆ พวกเขาเข้าใจว่ามีเพียงความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และยังคิดเลยเถิดไปไกลอีกว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ พวกนี้ไม่อาจเข้าใจในความหมาย แห่งความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฐิไม่อาจเชื่อถือได้ คนที่เข้าใจคำสอนแท้จริงของบัณฑิต ก็สามารถกลายเป็นบัณฑิตได้ คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนและถูกครอบงำให้ปฏิบัติตาม เขาก็เป็นปุถุชน บุคคลผู้มีความเป็นบัณฑิตย่อมมองหาคนที่รู้ถึงความเป็นจริง และสามารถสั่งสอนเขาได้
ในพระสูตรกล่าวว่า "อย่าสอนธรรมอันแท้จริงให้แก่คนที่ไม่เข้าใจ" และยังมีข้อความอีกว่า "ใจซึ่งคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น คือ คำสอน" คนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติเขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในทิฐิของเขา และเมื่อพวกเขาปฏิเสธความจริงอันคือธรรมชาตินี้ การปฏิเสธจะทำให้พวกเขาหันหลังให้กับความจริง ด้วยทิฐิที่พวกเขาพยายามก้าวเดินไปในหนทางอื่นอันหลงทาง ไม่อาจหวนกลับมาสู่ความจริงได้ เมื่อเขายังไม่เข้าใจเราก็ยังไม่ควรสอนเขา การสอนโดยขาดความศรัทธาความเชื่อในความเป็นจริงตามธรรมชาติ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่างมากมาย คนพาลผู้ขาดปัญญาเหล่านี้ ย่อมชอบหาความรู้ไกลความเป็นจริงแห่งตัวเองออกไป และเป็นการหาความรู้ที่ไม่ก่อประโยชน์อันใด เช่น ใฝ่หาเอากับพระพุทธรูป ธูปเทียนและแสงสีเป็นต้น พวกเขายอมให้จิตของเขาถูกกดขี่ไปด้วยอำนาจอวิชชา แห่งการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียความเป็นธรรมชาติแห่งจิตของตนเอง ไปกับสิ่งเหลวไหลไร้สาระ
พระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านเห็นปรากฏการณ์ทั้งปวงไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคตเจ้า" ประตูที่นำไปสู่สัจจะความเป็นจริงนั้นเป็นหมื่นเป็นแสน ทุกๆประตูเหล่านี้ก็สงบออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์แห่งจิตก็มิใช่จิตที่แท้จริง มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มิได้เกิดขึ้นเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด มันย่อมเลือนหายไปเหมือนมิได้ปรากฏขึ้นมาก่อนเลย มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่มิใช่ปรากฏการณ์ เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ เขาย่อมกังวลถึงความตาย และเมื่อพวกเขามีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข พวกเขาก็กังวลถึงความหิว ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาใช้ชีวิต ด้วยความอยากแห่งอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อยู่ตลอดเวลา ผู้รู้แจ้งย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อรอสัจธรรมแห่งชีวิตคือความตาย ผู้รู้แจ้งเมื่อชีวิตเขามีความสุข พวกเขาก็มีความสุขที่แท้จริงแห่งสัจธรรมตามธรรมชาติ เขาย่อมไม่มีความกังวลใดๆ เมื่อหิวเขาก็ย่อมกิน เมื่อง่วงเขาก็ย่อมนอน
ชีวิต ของปุถุชนคือชีวิตที่แปรผันไปตามเหตุและปัจจัยอยู่เสมอ แต่ชีวิตของบัณฑิตผู้ที่เดินบนมรรค ย่อมไม่กังวลถึงอดีต และไม่คิดถึงอนาคต และไม่ยึดติดอยู่กับความเป็นปัจจุบัน จิตอันคือธรรมชาติของบัณฑิตเหล่านี้ย่อมเป็นอิสระอย่างแท้จริง ย่อมอยู่นอกเหนือการไปการมาแห่งทุกห้วงของกาลเวลา ถ้าท่านเป็นผู้มืดบอดหลงอยู่ในวังวนแห่งชีวิตตนเอง ก็ขอให้ท่านรีบตื่นออกมาจากความหลับใหล แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริง อย่าหมกมุ่นอยู่กับชีวิตอันขาดสติของตนอีกต่อไป
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 40 ความเป็นพุทธะ
|
|
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 39 นิพพาน
บทที่ 39 นิพพาน
นิพพานหมายถึงความไม่เกิดและไม่ตาย มันเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือ การต้องไปเกิดและการที่จำพรากจากไปด้วยความตาย และมันอยู่นอกเหนือการปรากฏการณ์แห่งภาวะนิพพานที่เกิดขึ้น เพราะการเข้าไปยึดภาวะแห่งการหลุดพ้น เมื่อจิตหยุดการเคลื่อนไหวไป ในทิศทางแห่งความหมายที่เป็นตัวเป็นตนแห่งจิต จิตนั้นก็กลายเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่มีแต่ความว่างเปล่า นิพพานก็คือธรรมชาติแห่งจิตนี้ โมหะไม่ได้อยู่ที่ใด พระพุทธเจ้าก็เข้าสู่นิพพานที่จิตอันเป็นธรรมชาติของท่าน ความทุกข์โดยสภาพของมันไม่มีที่ตั้ง ถึงพยายามจะตั้งให้มันเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น โดยธรรมชาติแล้วมันก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ เมื่อความทุกข์โดยธรรมชาติแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ มันคงเป็นเพียงแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า พระโพธิสัตว์ก็ตรัสรู้ธรรมรู้แจ้งชัดในความตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่นั้น
สถาน ที่ที่ไม่น่าอยู่มีความอึดอัดคับแคบ คือสถานที่แห่งภพทั้งสาม ในความโลภ โกรธ หลง เมื่อมีความปรุงแต่งเกิดขึ้น ก็เข้าไปอยู่ในภพทั้งสาม เมื่อรู้แจ้งและเข้าถึงธรรมอันเป็นธรรมชาติ ก็สามารถออกมาจากภพทั้งสามได้ การเริ่มหรือการอยู่กับภพทั้งสามก็ขึ้นอยู่กับจิต จิตนี้ย่อมเข้าถึงได้ทุกสรรพสิ่ง ใครก็ตามที่รู้ว่า จิตมันเป็นเพียงมายาแห่งภาวะที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่างๆ จึงเป็นผู้รู้ว่าจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความว่าง แต่ปุถุชนผู้ปกคลุมไปด้วยจิตของตนที่เป็นภาวะแห่งการปรุงแต่ง จึงชอบอ้างว่า "จิตมีอยู่" แต่โพธิสัตว์ทั้งหลายและพระพุทธเจ้า รู้แจ้งชัดถึงการไม่ปรุงแต่งและการปรุงแต่งเป็นจิต ซึ่งหมายถึงมิใช่การไม่มีอยู่ของจิตหรือการมีอยู่ของจิต มันมิใช่ความหมายทั้งสองนี้ในเรื่องการมีหรือไม่มี แต่มันเป็นเพียงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ใช่เป็นเรื่องของจิต และมันไม่ใช่การเป็นเรื่องความมีหรือไม่มีจิต แต่มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นทางสายกลางอย่างแท้จริง มันเป็นกลางนอกเหนือความมีอยู่หรือไม่มีอยู่
ถ้าท่านศึกษาความเป็น จริงแห่งธรรมชาติอันคือสัจจะ โดยไม่ใช้จิตมาเกี่ยวข้อง ท่านก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงอันคือสัจจะ และความเป็นจริงแห่งจิตได้ บุคคลผู้มืดบอดไม่มีปัญญาอันแท้จริงย่อมไม่เข้าใจสัมมาทิฐิ บุคคลผู้มีปัญญาอันแจ้งชัดย่อมเข้าใจในสัมมาทิฐิ บุคคลที่รู้ว่าธรรมชาติและจิตเป็นสิ่งเดียวกันมาตั้งแต่ต้น รู้ว่าแท้จริงจิตคือธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น ก็คือบุคคลที่ได้ปัญญาแห่งความเป็นพุทธะแล้ว คนเหล่านี้ย่อมอยู่เหนือภาวะแห่ง การมีอยู่แห่งปัญญาญาณและการไม่มีอยู่แห่งปัญญาญาณ นั่นคือความเป็นสายกลางแห่งสัมมาทิฐิ
เมื่อได้ดำเนินไปในทางสายกลาง รูปจึงมิใช่รูป เพราะรูปมีความเสมอภาคกับธรรมชาติแห่งจิต จิตและรูปเป็นเพียงเหตุได้อาศัยซึ่งกันและกัน มันจึงมิใช่ความหมายแห่งการมีรูปและมีจิต มันจึงมิใช่เป็นการเกิดขึ้นแห่งการมีอยู่ของการที่รูปกับจิตได้อาศัยกัน ทางสายกลางจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับอะไรและอะไรระหว่างรูปกับจิต
ก็ด้วยความเป็นจริงตาม ธรรมชาติซึ่งเป็นสัจจะนี้ มันเป็นเพียงธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับจะต้องมีสิ่งใดเห็นและจะต้องมีสิ่งใดถูกเห็น ธรรมชาติมิใช่การได้เห็นและต้องเห็นภาวะที่เกิดขึ้น ธรรมชาติมันย่อมแจ่มแจ้งไปโดยรอบ โดยความเป็นตัวมันเองแห่งธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ความมุ่งเน้นในการดูการเห็น เพราะการดูการเห็นโดยมุ่งเน้นนี้ มันทำให้เกิดภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการได้เห็นได้ดูได้ทัศนาแห่งปุถุชนภาวะแต่เพียงเท่านั้น มันมิใช่การเห็น "ตามความเป็นจริง" แต่อย่างใด
จิตและโลกมันอยู่ตรง ข้ามกันเสมอ การรู้เห็นด้วยความเป็น"จิต" ที่ทำให้ความหมายแห่งความเป็นโลกเกิดขึ้น เป็นการรู้เห็นเกิดจากการพบเห็นโดยใช้จิตเพ่งมองดู แต่เมื่อโลกและจิตทั้งสองมีความเสมอภาคแจ่มแจ้งเท่ากัน จึงเป็นการใช้จิตตามธรรมชาติมองดูโลกนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นการเห็นแบบสัมมาทิฐิ การมองไม่เห็นสิ่งใดๆ คือการเข้าใจมรรค การไม่เข้าใจสิ่งใดๆเลย คือการเข้าใจธรรมะ เพราะการเห็นที่แท้จริงมิใช่การมองเห็นหรือการมองไม่เห็น และการเข้าใจที่แท้จริงมิใช่การเข้าใจแล้วหรือยังมิได้เข้าใจ การเข้าใจโดยที่มิต้องอาศัยการเข้าใจ การเข้าใจจึงเป็นการเข้าใจตามความเป็นจริง การเห็นตามความเป็นจริงมิใช่เป็นการเห็นแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยมิต้องใช้วิธีดู และสัมมาทิฐิมันมิใช่เป็นการเห็นด้วยสติปัญญาแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านได้เป็นสิ่งเดียวกันกับธรรมชาตินั้นแล้ว จึงมิใช่เป็นเรื่องของความเข้าใจและความไม่เข้าใจ ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติมันมิใช่ความเข้าใจในภาวะที่เกิดขึ้น
เมื่อ ท่านเข้าใจความเป็นจริงตามธรรมชาติ ความจริงนั้นก็อาศัยท่าน เมื่อท่านยังไม่เข้าใจในความเป็นจริง ท่านก็อาศัยความเป็นจริงนั้น เมื่อความเป็นจริงอาศัยท่านด้วยความไม่มีอะไรแตกต่าง ระหว่างท่านกับความจริงนั้น สิ่งที่ไม่จริงนั้นก็กลายเป็นจริงตามธรรมชาติ แต่เมื่อท่านต้องอาศัยความเป็นจริง สิ่งที่จริงตามธรรมชาติของมันก็กลายเป็นเท็จในสายตาท่าน ทุกสรรพสิ่งก็เป็นจริงตามเนื้อหาของมัน ที่เป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงไม่ ใช้จิตของตนค้นหาสัจธรรม เพราะจิตนั้นโดยความเป็น "จิต" ของมันเอง มันคือภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไป โดยมิได้ทำให้เกิดความจริงขึ้นมาแต่อย่างใด และความจริงซึ่งคือธรรมชาติก็มิได้ทำอะไรให้เกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งการเกิดขึ้นแห่งจิต ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงใช้สัจธรรมค้นหาสัจธรรม ใครก็ตามที่รู้ว่าแท้จริงตามธรรมชาติ ย่อมไม่มีอะไรกับอะไรอาศัยซึ่งกันได้ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงมรรค ใครก็ตามที่รู้ว่า "จิต" นี้ย่อมเป็นจิตอยู่อย่างนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับความเป็นอะไร เขาผู้นั้นย่อมพบเส้นทางแห่งการรู้ชัดแจ้งในธรรมชาติอยู่เสมอ
เมื่อ ท่านไม่เข้าใจ ท่านก็ผิด ผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อท่านเข้าใจท่านก็ไม่ผิด เป็นความเข้าใจตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เพราะความผิดทั้งหลายมันเป็นของว่างเปล่า เสมอกันในบรรดาแห่งความผิดเหล่านั้น เมื่อท่านไม่เข้าใจ ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอีกสักเท่าใด ความที่มันถูกอยู่แล้วตามธรรมชาติของมัน ก็กลับกลายมาเป็นผิดตามความไม่เข้าใจของท่าน และเมื่อท่านเข้าใจมันแล้วความผิดก็มิใช่ความผิดอีกต่อไป มันก็คงมีแต่ความถูกตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่ท่านเข้าใจมันอยู่อย่างนั้น ก็เพราะด้วยความเป็นจริง "ความผิด" ย่อมไม่มีอยู่จริง
พระสูตรกล่าวว่า "ไม่มีธรรมชาติที่เป็นตัวของมันเองได้เลย มันคงมีแต่ธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ในความเป็นจริงแห่งความว่างเปล่า" เมื่อท่านยังหลงไปในความเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าย่อมสร้างความทุกข์ และการเกิดการตายให้แก่ท่านได้อยู่ทุกเมื่อ แต่เมื่อท่านได้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอ อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าก็เป็นเพียงเหตุปัจจัย ที่ท่านได้อาศัยเพื่อความเป็นเสมอภาคในธรรมชาติ ที่คงอยู่กับท่านอยู่อย่างนั้น คนที่พบมรรคเดินไปบนหนทางที่ถูกต้อง ย่อมรู้ว่าธรรมชาติแห่งจิตตนนั้นคือมรรค เมื่อเขาพบกับจิตชนิดนี้เขากลับไม่พบอะไรในความเป็นจริงนั้น เมื่อเขาได้เดินไปบนหนทางแห่งความไม่มีอะไรในมรรคนั้น เขากลับพบความเป็นจริงในทุกย่างก้าวที่ได้ก้าวไป ถ้าท่านยังคิดว่ามรรคนั้นเกิดจากการใช้จิตค้นหา ท่านก็ยังดำเนินไปในทางที่ผิดอยู่ เพราะมรรคนั้นเป็นการทำความเข้าใจ ในความเป็นจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมรรคจึงไม่ใช่การค้นหาและต้องใช้อะไรค้นหา ถึงท่านจะหลงทางไป แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นยังคงอยู่ เมื่อท่านมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้ ถึงความที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ความหลงก็จะหายไป ความเป็นมรรคที่แท้จริงก็จะปรากฏอยู่ต่อหน้า ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะค้นหามรรค จนลมหายใจท่านหยุดและร่างกายแตกดับ แต่เมื่อท่านหยุดการดิ้นรนค้นหา ในมายาแห่งมรรคนั้น มรรคนั้นก็จะกลับมาเป็นมรรคตามความเป็นจริงแห่งมัน จงปลดเปลื้องความคิดทุกความคิด อันเกี่ยวกับมรรคและธรรมทุกชนิดออกเสีย แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริงแล้ว ตามที่มันเป็นอยู่ของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การเห็นรูปแต่ธรรมชาติ แห่งจิตไม่เศร้าหมองเพราะรูปนั้น การได้ยินด้วยธรรมชาติแห่งจิตนั้น ชื่อว่าเป็นการดำรงชีวิตอยู่ด้วยจิตหลุดพ้น อันคือความเป็นไปในความเป็นธรรมชาติของจิตนั้นนั่นเอง ตา ที่มองเห็นด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน หู ที่ได้ยินด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน เช่นกัน กล่าวโดยสรุปบุคคลที่ยอมรับว่าชีวิตตนคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น ชื่อว่า จิตอันหลุดพ้นเพราะความเป็นธรรมชาตินั้น เมื่อท่านมองดูรูปด้วยความเป็นธรรมชาติของจิต รูปก็ไม่ขึ้นต่อจิต และจิตก็ไม่ขึ้นต่อรูป ทั้งรูปและจิตนี้ต่างก็บริสุทธิ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เมื่อ ปราศจากโมหะ จิตก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะ เมื่อโมหะมี จิตก็คือจิตแห่งการยึดมั่นถือมั่น อวิชชาสร้างความหลงและให้จิตสร้างภพชาติให้เกิดขึ้น ปุถุชนจึงหลงไปเกิดในดินแดนแห่งการเกิดการตายนับไม่ถ้วน พระโพธิสัตว์ได้รู้แจ้งแทงตลอดถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ ท่านจึงเลือกที่จะอยู่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น
ถ้า ท่านไม่ใช้จิตปรุงแต่ง จิตโดยธรรมชาติมันนั้นมันคือธรรมชาติแห่งความหยุดนิ่ง ปราศจากความเคลื่อนไหวปรุงแต่งใดๆกลายเป็นจิตต่างๆนานา จิตมันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันจึงชื่อได้ว่า ธรรมชาติแห่งการหยุดนิ่งภายใน เมื่อท่านหลงไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นภาวะแห่งจิต ท่านก็จะหลงไปทำกรรมดีกรรมชั่ว ต้องไปเกิดในนรก ในสวรรค์
กายไม่ใช่ สิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่กายก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความเสมอภาค ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น อัตตาเป็นทรัพย์ของปุถุชน อนัตตาเป็นอริยทรัพย์ของบัณฑิต เมื่อท่านได้ทำความเข้าใจรู้จักความเป็นธรรมชาติ ความเป็นอนัตตาคือธรรมชาติแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันก็เป็นญาณที่ดีที่ทำให้ท่านเข้าถึงความเป็นธรรมชาตินั้นๆ โดยไม่ต้องทำอะไรลงไปอีกเลย เมื่อจิตเข้าถึงนิพพานอันคือธรรมชาติที่แท้จริงแห่งจิต ท่านก็จะไม่เห็นนิพพานในลักษณะเป็นภาวะนิพพานที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเห็นนิพพานด้วยความเป็นจิตแห่งภาวะที่เกิดขึ้น ท่านก็กำลังหลงตัวเอง
ความทุกข์ยากคือเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ ความทุกข์เป็นสัจธรรมความเป็นจริง ที่เข้ามากระตุ้นให้ปุถุชนใช้ปัญญาพิจารณา ถึงธรรมชาติแห่งทุกข์นั้น
แต่ ท่านอาจคิดไปว่า ทุกข์ทำให้พุทธะภาวะเกิดขึ้น แต่ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์เป็นพุทธะภาวะ แต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ทุกข์และพุทธะต่างก็เป็นเพียงเหตุและปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกันแต่เพียงเท่านั้น ทุกข์และพุทธะต่างก็มีความเสมอภาคกัน ด้วยความเป็นเนื้อหาเดียวกันในความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น กายและจิตของท่านเปรียบเสมือนดั่งท้องทุ่งนา ทุกข์คือเมล็ดพืช ปัญญาคือต้นกล้า พุทธะคือเมล็ดข้าว อุปมาอีกอย่างหนึ่ง จิตอันคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นเปรียบเสมือนกลิ่นหอมในไม้ พุทธะเกิดจากธรรมชาติแห่งจิตที่มีความเป็นอิสระอยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้อาศัยซึ่งกันและกันในความเป็นธรรมชาตินั้น ถ้ามีกลิ่นหอมโดยปราศจากไม้ ก็เป็นกลิ่นหอมที่ประหลาด ถ้าเป็นพุทธะโดยปราศจากธรรมชาติแห่งจิต ก็เป็นพุทธะที่ประหลาดเช่นกัน
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
นิพพานหมายถึงความไม่เกิดและไม่ตาย มันเป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือ การต้องไปเกิดและการที่จำพรากจากไปด้วยความตาย และมันอยู่นอกเหนือการปรากฏการณ์แห่งภาวะนิพพานที่เกิดขึ้น เพราะการเข้าไปยึดภาวะแห่งการหลุดพ้น เมื่อจิตหยุดการเคลื่อนไหวไป ในทิศทางแห่งความหมายที่เป็นตัวเป็นตนแห่งจิต จิตนั้นก็กลายเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่มีแต่ความว่างเปล่า นิพพานก็คือธรรมชาติแห่งจิตนี้ โมหะไม่ได้อยู่ที่ใด พระพุทธเจ้าก็เข้าสู่นิพพานที่จิตอันเป็นธรรมชาติของท่าน ความทุกข์โดยสภาพของมันไม่มีที่ตั้ง ถึงพยายามจะตั้งให้มันเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น โดยธรรมชาติแล้วมันก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ เมื่อความทุกข์โดยธรรมชาติแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ มันคงเป็นเพียงแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า พระโพธิสัตว์ก็ตรัสรู้ธรรมรู้แจ้งชัดในความตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่นั้น
สถาน ที่ที่ไม่น่าอยู่มีความอึดอัดคับแคบ คือสถานที่แห่งภพทั้งสาม ในความโลภ โกรธ หลง เมื่อมีความปรุงแต่งเกิดขึ้น ก็เข้าไปอยู่ในภพทั้งสาม เมื่อรู้แจ้งและเข้าถึงธรรมอันเป็นธรรมชาติ ก็สามารถออกมาจากภพทั้งสามได้ การเริ่มหรือการอยู่กับภพทั้งสามก็ขึ้นอยู่กับจิต จิตนี้ย่อมเข้าถึงได้ทุกสรรพสิ่ง ใครก็ตามที่รู้ว่า จิตมันเป็นเพียงมายาแห่งภาวะที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่างๆ จึงเป็นผู้รู้ว่าจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความว่าง แต่ปุถุชนผู้ปกคลุมไปด้วยจิตของตนที่เป็นภาวะแห่งการปรุงแต่ง จึงชอบอ้างว่า "จิตมีอยู่" แต่โพธิสัตว์ทั้งหลายและพระพุทธเจ้า รู้แจ้งชัดถึงการไม่ปรุงแต่งและการปรุงแต่งเป็นจิต ซึ่งหมายถึงมิใช่การไม่มีอยู่ของจิตหรือการมีอยู่ของจิต มันมิใช่ความหมายทั้งสองนี้ในเรื่องการมีหรือไม่มี แต่มันเป็นเพียงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ใช่เป็นเรื่องของจิต และมันไม่ใช่การเป็นเรื่องความมีหรือไม่มีจิต แต่มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นทางสายกลางอย่างแท้จริง มันเป็นกลางนอกเหนือความมีอยู่หรือไม่มีอยู่
ถ้าท่านศึกษาความเป็น จริงแห่งธรรมชาติอันคือสัจจะ โดยไม่ใช้จิตมาเกี่ยวข้อง ท่านก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงอันคือสัจจะ และความเป็นจริงแห่งจิตได้ บุคคลผู้มืดบอดไม่มีปัญญาอันแท้จริงย่อมไม่เข้าใจสัมมาทิฐิ บุคคลผู้มีปัญญาอันแจ้งชัดย่อมเข้าใจในสัมมาทิฐิ บุคคลที่รู้ว่าธรรมชาติและจิตเป็นสิ่งเดียวกันมาตั้งแต่ต้น รู้ว่าแท้จริงจิตคือธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น ก็คือบุคคลที่ได้ปัญญาแห่งความเป็นพุทธะแล้ว คนเหล่านี้ย่อมอยู่เหนือภาวะแห่ง การมีอยู่แห่งปัญญาญาณและการไม่มีอยู่แห่งปัญญาญาณ นั่นคือความเป็นสายกลางแห่งสัมมาทิฐิ
เมื่อได้ดำเนินไปในทางสายกลาง รูปจึงมิใช่รูป เพราะรูปมีความเสมอภาคกับธรรมชาติแห่งจิต จิตและรูปเป็นเพียงเหตุได้อาศัยซึ่งกันและกัน มันจึงมิใช่ความหมายแห่งการมีรูปและมีจิต มันจึงมิใช่เป็นการเกิดขึ้นแห่งการมีอยู่ของการที่รูปกับจิตได้อาศัยกัน ทางสายกลางจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับอะไรและอะไรระหว่างรูปกับจิต
ก็ด้วยความเป็นจริงตาม ธรรมชาติซึ่งเป็นสัจจะนี้ มันเป็นเพียงธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับจะต้องมีสิ่งใดเห็นและจะต้องมีสิ่งใดถูกเห็น ธรรมชาติมิใช่การได้เห็นและต้องเห็นภาวะที่เกิดขึ้น ธรรมชาติมันย่อมแจ่มแจ้งไปโดยรอบ โดยความเป็นตัวมันเองแห่งธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ความมุ่งเน้นในการดูการเห็น เพราะการดูการเห็นโดยมุ่งเน้นนี้ มันทำให้เกิดภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการได้เห็นได้ดูได้ทัศนาแห่งปุถุชนภาวะแต่เพียงเท่านั้น มันมิใช่การเห็น "ตามความเป็นจริง" แต่อย่างใด
จิตและโลกมันอยู่ตรง ข้ามกันเสมอ การรู้เห็นด้วยความเป็น"จิต" ที่ทำให้ความหมายแห่งความเป็นโลกเกิดขึ้น เป็นการรู้เห็นเกิดจากการพบเห็นโดยใช้จิตเพ่งมองดู แต่เมื่อโลกและจิตทั้งสองมีความเสมอภาคแจ่มแจ้งเท่ากัน จึงเป็นการใช้จิตตามธรรมชาติมองดูโลกนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นการเห็นแบบสัมมาทิฐิ การมองไม่เห็นสิ่งใดๆ คือการเข้าใจมรรค การไม่เข้าใจสิ่งใดๆเลย คือการเข้าใจธรรมะ เพราะการเห็นที่แท้จริงมิใช่การมองเห็นหรือการมองไม่เห็น และการเข้าใจที่แท้จริงมิใช่การเข้าใจแล้วหรือยังมิได้เข้าใจ การเข้าใจโดยที่มิต้องอาศัยการเข้าใจ การเข้าใจจึงเป็นการเข้าใจตามความเป็นจริง การเห็นตามความเป็นจริงมิใช่เป็นการเห็นแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยมิต้องใช้วิธีดู และสัมมาทิฐิมันมิใช่เป็นการเห็นด้วยสติปัญญาแต่เพียงเท่านั้น แต่มันเป็นการเห็นตามความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านได้เป็นสิ่งเดียวกันกับธรรมชาตินั้นแล้ว จึงมิใช่เป็นเรื่องของความเข้าใจและความไม่เข้าใจ ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติมันมิใช่ความเข้าใจในภาวะที่เกิดขึ้น
เมื่อ ท่านเข้าใจความเป็นจริงตามธรรมชาติ ความจริงนั้นก็อาศัยท่าน เมื่อท่านยังไม่เข้าใจในความเป็นจริง ท่านก็อาศัยความเป็นจริงนั้น เมื่อความเป็นจริงอาศัยท่านด้วยความไม่มีอะไรแตกต่าง ระหว่างท่านกับความจริงนั้น สิ่งที่ไม่จริงนั้นก็กลายเป็นจริงตามธรรมชาติ แต่เมื่อท่านต้องอาศัยความเป็นจริง สิ่งที่จริงตามธรรมชาติของมันก็กลายเป็นเท็จในสายตาท่าน ทุกสรรพสิ่งก็เป็นจริงตามเนื้อหาของมัน ที่เป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงไม่ ใช้จิตของตนค้นหาสัจธรรม เพราะจิตนั้นโดยความเป็น "จิต" ของมันเอง มันคือภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไป โดยมิได้ทำให้เกิดความจริงขึ้นมาแต่อย่างใด และความจริงซึ่งคือธรรมชาติก็มิได้ทำอะไรให้เกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งการเกิดขึ้นแห่งจิต ดังนั้นผู้รู้ทั้งหลายจึงใช้สัจธรรมค้นหาสัจธรรม ใครก็ตามที่รู้ว่าแท้จริงตามธรรมชาติ ย่อมไม่มีอะไรกับอะไรอาศัยซึ่งกันได้ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงมรรค ใครก็ตามที่รู้ว่า "จิต" นี้ย่อมเป็นจิตอยู่อย่างนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับความเป็นอะไร เขาผู้นั้นย่อมพบเส้นทางแห่งการรู้ชัดแจ้งในธรรมชาติอยู่เสมอ
เมื่อ ท่านไม่เข้าใจ ท่านก็ผิด ผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อท่านเข้าใจท่านก็ไม่ผิด เป็นความเข้าใจตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เพราะความผิดทั้งหลายมันเป็นของว่างเปล่า เสมอกันในบรรดาแห่งความผิดเหล่านั้น เมื่อท่านไม่เข้าใจ ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอีกสักเท่าใด ความที่มันถูกอยู่แล้วตามธรรมชาติของมัน ก็กลับกลายมาเป็นผิดตามความไม่เข้าใจของท่าน และเมื่อท่านเข้าใจมันแล้วความผิดก็มิใช่ความผิดอีกต่อไป มันก็คงมีแต่ความถูกตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่ท่านเข้าใจมันอยู่อย่างนั้น ก็เพราะด้วยความเป็นจริง "ความผิด" ย่อมไม่มีอยู่จริง
พระสูตรกล่าวว่า "ไม่มีธรรมชาติที่เป็นตัวของมันเองได้เลย มันคงมีแต่ธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ในความเป็นจริงแห่งความว่างเปล่า" เมื่อท่านยังหลงไปในความเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าย่อมสร้างความทุกข์ และการเกิดการตายให้แก่ท่านได้อยู่ทุกเมื่อ แต่เมื่อท่านได้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่เสมอ อายตนะทั้งหกและขันธ์ทั้งห้าก็เป็นเพียงเหตุปัจจัย ที่ท่านได้อาศัยเพื่อความเป็นเสมอภาคในธรรมชาติ ที่คงอยู่กับท่านอยู่อย่างนั้น คนที่พบมรรคเดินไปบนหนทางที่ถูกต้อง ย่อมรู้ว่าธรรมชาติแห่งจิตตนนั้นคือมรรค เมื่อเขาพบกับจิตชนิดนี้เขากลับไม่พบอะไรในความเป็นจริงนั้น เมื่อเขาได้เดินไปบนหนทางแห่งความไม่มีอะไรในมรรคนั้น เขากลับพบความเป็นจริงในทุกย่างก้าวที่ได้ก้าวไป ถ้าท่านยังคิดว่ามรรคนั้นเกิดจากการใช้จิตค้นหา ท่านก็ยังดำเนินไปในทางที่ผิดอยู่ เพราะมรรคนั้นเป็นการทำความเข้าใจ ในความเป็นจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมรรคจึงไม่ใช่การค้นหาและต้องใช้อะไรค้นหา ถึงท่านจะหลงทางไป แต่ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นยังคงอยู่ เมื่อท่านมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้ ถึงความที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ความหลงก็จะหายไป ความเป็นมรรคที่แท้จริงก็จะปรากฏอยู่ต่อหน้า ต่อให้ท่านใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะค้นหามรรค จนลมหายใจท่านหยุดและร่างกายแตกดับ แต่เมื่อท่านหยุดการดิ้นรนค้นหา ในมายาแห่งมรรคนั้น มรรคนั้นก็จะกลับมาเป็นมรรคตามความเป็นจริงแห่งมัน จงปลดเปลื้องความคิดทุกความคิด อันเกี่ยวกับมรรคและธรรมทุกชนิดออกเสีย แล้วหันหน้ามาเผชิญต่อความเป็นจริงแล้ว ตามที่มันเป็นอยู่ของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การเห็นรูปแต่ธรรมชาติ แห่งจิตไม่เศร้าหมองเพราะรูปนั้น การได้ยินด้วยธรรมชาติแห่งจิตนั้น ชื่อว่าเป็นการดำรงชีวิตอยู่ด้วยจิตหลุดพ้น อันคือความเป็นไปในความเป็นธรรมชาติของจิตนั้นนั่นเอง ตา ที่มองเห็นด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน หู ที่ได้ยินด้วยความเป็นธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่า เซน เช่นกัน กล่าวโดยสรุปบุคคลที่ยอมรับว่าชีวิตตนคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น ชื่อว่า จิตอันหลุดพ้นเพราะความเป็นธรรมชาตินั้น เมื่อท่านมองดูรูปด้วยความเป็นธรรมชาติของจิต รูปก็ไม่ขึ้นต่อจิต และจิตก็ไม่ขึ้นต่อรูป ทั้งรูปและจิตนี้ต่างก็บริสุทธิ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เมื่อ ปราศจากโมหะ จิตก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะ เมื่อโมหะมี จิตก็คือจิตแห่งการยึดมั่นถือมั่น อวิชชาสร้างความหลงและให้จิตสร้างภพชาติให้เกิดขึ้น ปุถุชนจึงหลงไปเกิดในดินแดนแห่งการเกิดการตายนับไม่ถ้วน พระโพธิสัตว์ได้รู้แจ้งแทงตลอดถ้วนทั่วทุกอณูธรรมธาตุ ท่านจึงเลือกที่จะอยู่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น
ถ้า ท่านไม่ใช้จิตปรุงแต่ง จิตโดยธรรมชาติมันนั้นมันคือธรรมชาติแห่งความหยุดนิ่ง ปราศจากความเคลื่อนไหวปรุงแต่งใดๆกลายเป็นจิตต่างๆนานา จิตมันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น มันจึงชื่อได้ว่า ธรรมชาติแห่งการหยุดนิ่งภายใน เมื่อท่านหลงไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นภาวะแห่งจิต ท่านก็จะหลงไปทำกรรมดีกรรมชั่ว ต้องไปเกิดในนรก ในสวรรค์
กายไม่ใช่ สิ่งที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่กายก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความเสมอภาค ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น อัตตาเป็นทรัพย์ของปุถุชน อนัตตาเป็นอริยทรัพย์ของบัณฑิต เมื่อท่านได้ทำความเข้าใจรู้จักความเป็นธรรมชาติ ความเป็นอนัตตาคือธรรมชาติแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันก็เป็นญาณที่ดีที่ทำให้ท่านเข้าถึงความเป็นธรรมชาตินั้นๆ โดยไม่ต้องทำอะไรลงไปอีกเลย เมื่อจิตเข้าถึงนิพพานอันคือธรรมชาติที่แท้จริงแห่งจิต ท่านก็จะไม่เห็นนิพพานในลักษณะเป็นภาวะนิพพานที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเห็นนิพพานด้วยความเป็นจิตแห่งภาวะที่เกิดขึ้น ท่านก็กำลังหลงตัวเอง
ความทุกข์ยากคือเมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ ความทุกข์เป็นสัจธรรมความเป็นจริง ที่เข้ามากระตุ้นให้ปุถุชนใช้ปัญญาพิจารณา ถึงธรรมชาติแห่งทุกข์นั้น
แต่ ท่านอาจคิดไปว่า ทุกข์ทำให้พุทธะภาวะเกิดขึ้น แต่ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์เป็นพุทธะภาวะ แต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ทุกข์และพุทธะต่างก็เป็นเพียงเหตุและปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกันแต่เพียงเท่านั้น ทุกข์และพุทธะต่างก็มีความเสมอภาคกัน ด้วยความเป็นเนื้อหาเดียวกันในความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น กายและจิตของท่านเปรียบเสมือนดั่งท้องทุ่งนา ทุกข์คือเมล็ดพืช ปัญญาคือต้นกล้า พุทธะคือเมล็ดข้าว อุปมาอีกอย่างหนึ่ง จิตอันคือธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นเปรียบเสมือนกลิ่นหอมในไม้ พุทธะเกิดจากธรรมชาติแห่งจิตที่มีความเป็นอิสระอยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้อาศัยซึ่งกันและกันในความเป็นธรรมชาตินั้น ถ้ามีกลิ่นหอมโดยปราศจากไม้ ก็เป็นกลิ่นหอมที่ประหลาด ถ้าเป็นพุทธะโดยปราศจากธรรมชาติแห่งจิต ก็เป็นพุทธะที่ประหลาดเช่นกัน
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 38 ปลดปล่อยตนเอง
|
|
นิกายเซน หนังสือ "คำสอนเซน ภาคเซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"-บทที่ 37 จิตสู่จิต
บทที่ 37 จิตสู่จิต
ตราบใดที่ท่านยังไม่เข้าใจพุทธะที่แท้จริง หนทางที่ท่านเดินมันก็ยังคงเป็นหนทางที่ ได้สร้างกรรมให้กับตนเองอยู่ร่ำไป หนทางนี้จะพาให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เต็มใจก็ตามที แต่เมื่อท่านได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว ธรรมชาตินี้ก็จะพาท่านหยุดสร้างกรรม และก็ไม่ต้องไปตายไปเกิด
ท่าน อาจารย์ของฉัน คือ ท่านมหาปรัชญาตาระ ซึ่งเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 27 ท่านได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตซึ่งเป็นการถ่ายทอดจิตสู่จิต เป็นการถ่ายความเข้าใจคือความเป็นจริงในธรรมชาติ มาสู่ความเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นจิตของฉันเอง ดังนั้นการที่ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวก็คือ การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้แก่ชนชาวจีนได้สืบทอดธรรมเหล่านี้ต่อไป
ก็ "จิต" ที่พูดถึงนี่เองคือพุทธะ มันมิใช่จิตที่เป็นภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไปในปรากฏการณ์ต่างๆ แต่มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง จิตสู่จิต ก็คือความชี้ตรงถึงความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นธรรมชาติของพวกท่านเอง เมื่อจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ มันจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดในข้อวัตรแบบฤาษี เป็นการทานข้าววันละมื้อ การเข้าฌาน การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ ซึ่งคุณเอาจิตของคุณเองเข้าไปยึดติดโดยความชอบ และคิดว่ามันคือสิ่งที่จะทำให้ความเป็นพุทธะเกิดขึ้นได้ ความคลั่งไคล้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งความเป็นภาพพจน์แห่งพุทธะ ให้เกิดขึ้นตามจินตนาการของเขา ที่ออกนอกเส้นทางความเป็นธรรมชาติไป เมื่อท่านได้หยุดพฤติกรรมการจินตนาการถึงพุทธะเหล่านี้ทิ้งไปเสีย แล้วหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริง ตามที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จิตอันคือการรู้แจ้งแห่งธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายถอดเรื่องจิต พระพุทธองค์ไม่สอนธรรมชนิดอื่นเลย ท่านสอนแต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติเท่านั้น และถ้าหากผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่มีความรู้อะไรเลย และไม่สามารถอ่านหนังสือออกได้ แต่ความเป็นจริงที่พวกเขาได้ตระหนักชัด ที่ทำให้เขาเป็นพุทธะที่แท้จริงได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่พบความเห็นแจ้งอันคือธรรมชาติแห่งตน ไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นออกมาจากการหลับใหลมืดมิด ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้าเลย และไม่มีวันที่จะได้รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้เลย ต่อให้ท่านต้องปฏิบัติอย่างหนักหน่วง จนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงย่อยยับไปเลยก็ตาม
ความเป็นพระพุทธเจ้าคือ ธรรมชาติอันเป็นจิตดั้งเดิมของท่านนี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ใช่จิต มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ประกอบไปด้วยเหตุและผล มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน โดยที่ไม่อาจจับต้องมันได้ หรือไม่อาจเอาความรู้สึกของเรา ไปจินตนาการถึงความเป็นรูปร่างลักษณะแห่งมัน มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่าของจิต ที่รู้แจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ มันจึงมิใช่เป็นจิตชนิดที่ปรุงแต่งขึ้นในเนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะ มันเป็นจิตที่เป็นพุทธะของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลาย ที่รู้แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะนี้แล้ว ปุถุชนผู้มืดบอดไปด้วย ตัณหา อุปาทาน ความต้องการแห่งตน ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามที่ใจตนเองปรารถนา ก็จะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงตรงนี้ได้เลย เพราะอำนาจแห่งอวิชชาพาหลงไปในทิศทางอื่น
แต่สิ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติ ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมันแห่งเรา รูปกายและธาตุทั้งสี่มันเป็นเพียง การได้อยู่อาศัยกับสิ่งเหล่านี้เพียงชั่วคราว และมันก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาติเลย แต่ถ้าเราปราศจากมันก็มิอาจเคลื่อนไหวไปไหนได้เลย ถ้ารูปกายนี้ไม่มีจิตมันจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตอันคือธรรมชาตินี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวไปได้ การเคลื่อนไหวทั้งปวงล้วนเป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต การเคลื่อนไหวไปจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต แต่การเคลื่อนไหวไปในทางความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต และธรรมชาติแห่งจิตก็มิใช่การเคลื่อนไหวไป ในทางความหมายแห่งความมีอัตตาตัวตนดังกล่าว
เพราะฉะนั้นแล้วการ เคลื่อนไหวไป ก็คือการเคลื่อนไหวไปแบบนั้นตามธรรมชาติ จิตจึงมิใช่การเคลื่อนไหวที่เป็นตัวเป็นตน เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติแห่งจิตอันคือพุทธะนี้ คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดในความมีอิสรภาพเหนืออื่นใด มันมิใช่เป็นการเคลื่อนไหวไปในความเป็นทาสแห่งความอยาก ที่ปรุงแต่งเป็นจิตที่เป็นภาวะอัตตาตัวตนปรากฏขึ้น จิตนี้มันจึงเป็นจิตตามธรรมชาติแห่งตนที่แท้จริง มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ มันจึงเป็นจิตและเป็นการเคลื่อนไหวไปแห่งรูปกายขันธ์ธาตุ ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
ตราบใดที่ท่านยังไม่เข้าใจพุทธะที่แท้จริง หนทางที่ท่านเดินมันก็ยังคงเป็นหนทางที่ ได้สร้างกรรมให้กับตนเองอยู่ร่ำไป หนทางนี้จะพาให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เต็มใจก็ตามที แต่เมื่อท่านได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว ธรรมชาตินี้ก็จะพาท่านหยุดสร้างกรรม และก็ไม่ต้องไปตายไปเกิด
ท่าน อาจารย์ของฉัน คือ ท่านมหาปรัชญาตาระ ซึ่งเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 27 ท่านได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตซึ่งเป็นการถ่ายทอดจิตสู่จิต เป็นการถ่ายความเข้าใจคือความเป็นจริงในธรรมชาติ มาสู่ความเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นจิตของฉันเอง ดังนั้นการที่ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวก็คือ การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้แก่ชนชาวจีนได้สืบทอดธรรมเหล่านี้ต่อไป
ก็ "จิต" ที่พูดถึงนี่เองคือพุทธะ มันมิใช่จิตที่เป็นภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไปในปรากฏการณ์ต่างๆ แต่มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง จิตสู่จิต ก็คือความชี้ตรงถึงความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นธรรมชาติของพวกท่านเอง เมื่อจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ มันจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดในข้อวัตรแบบฤาษี เป็นการทานข้าววันละมื้อ การเข้าฌาน การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ ซึ่งคุณเอาจิตของคุณเองเข้าไปยึดติดโดยความชอบ และคิดว่ามันคือสิ่งที่จะทำให้ความเป็นพุทธะเกิดขึ้นได้ ความคลั่งไคล้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งความเป็นภาพพจน์แห่งพุทธะ ให้เกิดขึ้นตามจินตนาการของเขา ที่ออกนอกเส้นทางความเป็นธรรมชาติไป เมื่อท่านได้หยุดพฤติกรรมการจินตนาการถึงพุทธะเหล่านี้ทิ้งไปเสีย แล้วหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริง ตามที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จิตอันคือการรู้แจ้งแห่งธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายถอดเรื่องจิต พระพุทธองค์ไม่สอนธรรมชนิดอื่นเลย ท่านสอนแต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติเท่านั้น และถ้าหากผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่มีความรู้อะไรเลย และไม่สามารถอ่านหนังสือออกได้ แต่ความเป็นจริงที่พวกเขาได้ตระหนักชัด ที่ทำให้เขาเป็นพุทธะที่แท้จริงได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่พบความเห็นแจ้งอันคือธรรมชาติแห่งตน ไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นออกมาจากการหลับใหลมืดมิด ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้าเลย และไม่มีวันที่จะได้รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้เลย ต่อให้ท่านต้องปฏิบัติอย่างหนักหน่วง จนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงย่อยยับไปเลยก็ตาม
ความเป็นพระพุทธเจ้าคือ ธรรมชาติอันเป็นจิตดั้งเดิมของท่านนี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ใช่จิต มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ประกอบไปด้วยเหตุและผล มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน โดยที่ไม่อาจจับต้องมันได้ หรือไม่อาจเอาความรู้สึกของเรา ไปจินตนาการถึงความเป็นรูปร่างลักษณะแห่งมัน มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่าของจิต ที่รู้แจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ มันจึงมิใช่เป็นจิตชนิดที่ปรุงแต่งขึ้นในเนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะ มันเป็นจิตที่เป็นพุทธะของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลาย ที่รู้แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะนี้แล้ว ปุถุชนผู้มืดบอดไปด้วย ตัณหา อุปาทาน ความต้องการแห่งตน ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามที่ใจตนเองปรารถนา ก็จะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงตรงนี้ได้เลย เพราะอำนาจแห่งอวิชชาพาหลงไปในทิศทางอื่น
แต่สิ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติ ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมันแห่งเรา รูปกายและธาตุทั้งสี่มันเป็นเพียง การได้อยู่อาศัยกับสิ่งเหล่านี้เพียงชั่วคราว และมันก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาติเลย แต่ถ้าเราปราศจากมันก็มิอาจเคลื่อนไหวไปไหนได้เลย ถ้ารูปกายนี้ไม่มีจิตมันจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตอันคือธรรมชาตินี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวไปได้ การเคลื่อนไหวทั้งปวงล้วนเป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต การเคลื่อนไหวไปจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต แต่การเคลื่อนไหวไปในทางความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต และธรรมชาติแห่งจิตก็มิใช่การเคลื่อนไหวไป ในทางความหมายแห่งความมีอัตตาตัวตนดังกล่าว
เพราะฉะนั้นแล้วการ เคลื่อนไหวไป ก็คือการเคลื่อนไหวไปแบบนั้นตามธรรมชาติ จิตจึงมิใช่การเคลื่อนไหวที่เป็นตัวเป็นตน เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติแห่งจิตอันคือพุทธะนี้ คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดในความมีอิสรภาพเหนืออื่นใด มันมิใช่เป็นการเคลื่อนไหวไปในความเป็นทาสแห่งความอยาก ที่ปรุงแต่งเป็นจิตที่เป็นภาวะอัตตาตัวตนปรากฏขึ้น จิตนี้มันจึงเป็นจิตตามธรรมชาติแห่งตนที่แท้จริง มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ มันจึงเป็นจิตและเป็นการเคลื่อนไหวไปแห่งรูปกายขันธ์ธาตุ ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ครูสอนเซน
อาจารยฺราเชนทร์ สิมะสุนทร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)